THEMATIC PAVILION
จุดไฮไลท์ ของงานสถาปนิก
พื้นที่จัดแสดงศักยภาพร่วมกันของ
แบรนด์ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง และสถาปนิก
ซึ่งเป็นการผสานความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมเข้ากับการตีความนวัตกรรมเหล่านั้นตามสไตล์ต่างๆ ออกมาเป็นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์
ในฐานะไฮไลท์ของงานสถาปนิก THEMATIC PAVILION จึงเป็นทั้งการจัดแสดงที่โชว์ศักยภาพของวัสดุผ่านการใช้งานในรูปแบบที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากการใช้งานเดิมๆ ทั่วไป และเป็นทั้งการจัดแสดงที่สร้างประสบการณ์ผ่านองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันบนพื้นที่ขนาดใหญ่
เป็นพื้นที่ที่สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายหลักของงาน ได้แก่ สถาปนิก
นักออกแบบ วิศวกร ผู้รับเหมา นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ รวมถึงได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน อินฟลูเอนเซอร์ บล็อกเกอร์ เป็นจำนวนมาก
past highlights
Material: Aluminum
Designer: HAS design and research
แนวคิดในการออกแบบถ้ำอะลูมิเนียม S-ONE นั้น คือการนำวัสดุอุตสาหกรรมอย่างอะลูมิเนียมมาสร้างพื้นที่ที่สะท้อนลักษณะทางธรรมชาติในรูปแบบใหม่เพื่อกระตุ้นประสบการณ์ในการรับรู้ของผู้คนและการอยู่ร่วมกันระหว่างผลผลิตทางอุตสาหกรรมกับการแสวงหาพื้นที่ในธรรมชาติของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งการประกอบกันของอะลูมิเนียมในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการนำวัสดุชนิดนี้มาใช้ในรูปแบบ บูรณาการนวัตกรรมผ่านทางองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมเพื่อต่อยอดความเป็นไปได้ใหม่ของอะลูมิเนียมในอนาคตที่กำลังจะมาถึง
Product: Laminate and Engineered Surface
Designer: pbm
การจัดแสดงแผ่นลามิเนต 700 ชิ้น ที่มาพร้อมกับสีสันและลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละแผ่น นำมาจัดเรียงแบบอิสระเพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับความหลากหลายทางธรรมชาติ โดยเป็นการจำลองและนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุและธรรมชาติ เพื่อต่อยอดถึงความ CONNEX กับธรรมชาติ สู่ผู้เข้าชมงาน ด้วยเทคนิค และนวัตกรรมของการจัดแสดง
Product: Tools and home improvement online store
Designer: anonym studio
สเปซที่บ่งบอกถึงแบรนด์ของ SKI ผ่านการตีความในรูปแบบของ Warehouse – Storage ซึ่งถูกล้อมรอบด้วย Super storage เพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างตรงกลาง ที่ไหลไปทั่วทั้งพื้นที่จัดแสดง การออกแบบพื้นที่โดยรวมเป็นลักษณะของผนังสูงคล้ายรูปลักษณ์ของโกดังผืนใหญ่ ที่ถูกแบ่งโซนจากสี ขนาด ความสูง หรือฟังก์ชั่นที่ต่างกัน โดยมีการเจาะเป็น Window Frame ในตำแหน่งที่ตั้งใจเพื่อให้เห็นถึงผลิตภัณฑ์ที่จัดแสดงอยู่ภายในพื้นที่ด้านหลังห้อง ลักษณะการ Zoning ที่เกิดขึ้นจะเป็นการถูกเชื่อมโยงจากผนังโกดังที่วิ่งตรงแล้วค่อยๆ โค้งเข้าสู่พื้นที่จัดแสดง ทำหน้าที่เสมือนเป็นพื้นที่เปลี่ยนผ่าน หรือเป็นการเดินทางของผู้ชมงาน ที่ถูกเชื้อเชิญเข้ามาภายใน Pavilion ได้มาทำความรู้จักกับแบรนด์ SKI ที่กำลังเข้าสู่ระบบออนไลน์อย่าง www.ski.co.th
Material: Pre-painted Steel and Pattern Painted Steel
Designer: ACa Architects
Thematic Pavilion นี้ได้นำหลักของการ RETHINK, REUSE, RE-FORM มาใช้ประกอบการออกแบบ โดยการ Rethink ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของโครงสร้างเหล็กโดยการนำโครงสร้างในธรรมชาติเข้ามาประยุกต์ เกิดเป็น Module ของแผ่นเหล็กที่สามารถนำมาประกอบให้เกิดพื้นที่ในการใช้งาน สามารถ Reuse ได้ เนื่องจากเหล็กเป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทาน มีความ Sustainable สามารถแปรรูป โดยการออกแบบเป็น Unit ถอดประกอบได้ยังส่งผลให้เกิดการ Re-form ให้เหมาะสมกับโครงการอื่นๆ ในอนาคตได้ ด้วยความสามารถในการปรับเปลี่ยนและใช้ใหม่ของ Unit นี้เองจึงเป็นการเติมเต็มศักยภาพของเหล็กดังเช่นสโลแกนของแบรนด์ Empower Steel ที่ว่า “EMPOWER YOUR IMAGINATION”
Material: Steel Pipe & Chain
Designer: Context Studio
ผลงานการออกแบบ Thematic Pavilion ที่โชว์ผ่านรูปลักษณ์สีฟ้าอมเขียวเมทัลลิกซึ่งเป็นสี CI จากแบรนด์ Thaikoon Steel Group & Thai Premium Pipe แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหลักคือ ประติมากรรมท่อเหล็กเส้นตรงขนาดสูง 6 เมตร กว้าง 4 เมตร จำนวน 70 ท่อน นำมาเชื่อมเรียงต่อกันด้วย joint คอหมุน ปรับบิดท่อนเหล็กเส้นตรงทีละองศา เกิดเป็นทรงบิดเกลียว (Spiral Movement) ที่มีความอ่อนโยน พลิ้วไหว กับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวทั้งโต๊ะและเก้าอี้ที่ออกแบบเฉพาะจากท่อเหล็กและเส้นโซ่ รายล้อมรอบตัวประติมากรรมเพื่อให้ทุกคนสามารถนั่งพักหรือนั่งทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ความพิเศษอีกสิ่งคือการตีโจทย์ด้านความใส่ใจสิ่งแวดล้อม ด้วยการเลือกวัสดุที่มีขนาดมาตรฐานมาใช้งานเพื่อไม่ให้เกิดการผลิตใหม่และสะดวกกับการขนย้าย ตัวงานสามารถถอดออกมาใช้ต่อหลังงานจบโดยที่ตัววัสดุก็ยังคงคุณภาพ 100% เช่นเดิม
Material: C-Line, Gypsum, Tile, iR-uPVC Rain Gutter, iR-uPVC Roof Sheet
Designer: Hypothesis
งานออกแบบ Thematic Pavilion ที่ท้าทายสายตาด้วยการใช้สี ‘ขาวโพลน’ ยกพาวิลเลียน แถมยังเอาวัสดุจากทั้ง 2 แบรนด์อย่าง TOA และ VG มาเล่นกับเอฟเฟ็กต์มากมายทั้งแสงสี ควัน และน้ำ เปลี่ยนภาพงานสถาปัตยกรรมให้มีไดนามิกในรูปแบบงานศิลปะ คอนเซ็ปต์ของการออกแบบผลงานชิ้นนี้คือถ่ายทอดความเป็นต้นน้ำ (Pinnacle) ที่เป็นจุดร่วมของแบรนด์ TOA และ VG นำมาสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ของพีระมิดน้ำผุดเพื่อสื่อความเป็นต้นน้ำในตำแหน่งกลางบูธ ขยับจากพีระมิดตรงกลางออกมา จะแบ่งเป็น 4 node 4 เสาล้อมรอบ ติดตั้งด้วยวัสดุลักษณะเชิงเส้นที่มีสีขาว ซึ่งเลือกมาจากทั้ง 2 แบรนด์เพื่อให้ภาพรวมแม้วัสดุจะมาจากต่างแหล่งก็ยังคงความสมดุลและกลมกลืน โดยวัสดุมีฟังก์ชันการใช้งานที่ทนต่อเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ได้ดี ที่สำคัญยังใช้วิธีติดตั้งที่ปกป้องวัสดุ ทำให้เมื่อจบงานแล้วบูธนี้สามารถถอดกลับไปใช้งานต่อได้
Material: Teak Painted Steel
Designer: PAVA architects
Thematic Pavilion นี้ชี้ชวนให้ทุกคนมองไม้มุมใหม่ สื่อสารให้เห็นการใช้ไม้สักในแง่มุมของความยั่งยืน เพราะไม้สักไม่เพียงสามารถใช้งานได้นานและใช้ได้แทบทุกส่วนแล้ว ยังนับเป็นวัสดุเอกในวงการสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย เพราะการใช้งานวัสดุชนิดนี้จะผลิต carbon footprint น้อยกว่าวัสดุก่อสร้างทั่วไป ทันทีที่เดินเข้าไปในพาวิลเลียนผู้ชมจะถูกขนาบด้วยไม้สักที่มีความสูงตระหง่านในพื้นที่ปิด เสมือนอยู่ในป่าสักที่สงบ ตัดขาดความวุ่นวายภายนอก ซึ่งพาวิลเลียนนี้จะพาคุณย้อนกลับไปดู “ไม้สัก” จากต้นน้ำด้วย Route ที่นำคุณไปชมไม้สักทีละชั้น ตั้งแต่ไม้ที่ยังคงมีเปลือกไม้ จากนั้นค่อยๆ เผยส่วนของ แก่น กระพี้ ที่อยู่ลึกลงไป กระทั่งนำคุณไปสู่ปลายทางฝั่ง Exhibition ที่นำไม้สักมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ
Material: Laminate
Designer: Sher Maker
การสร้างพื้นที่ปิดล้อมเชิงประสบการณ์ โดยคำนึงถึงการนำวัสดุแต่ละโมเดลมาใช้อย่างเต็มศักยภาพและชี้ชวนให้มองวัสดุในแง่มุมทางการออกแบบที่หลากหลายและขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น อาทิ การใช้วัสดุ EDL APTICO จากกระบวนการตีลังขนส่ง มาสร้างโครงสร้างหลักของ Pavilion ที่ออกแบบให้ไม้โครงสามารถนำกลับไปใช้ในการขนส่งได้จริง และตัวแผ่นไม่ถูกเจาะ ยึดให้เกิดความเสียหายจากการจัดแสดง หรือการนำ PANAPLAST มาประกอบเป็นระนาบฝ้าเพดานที่ออกแบบแสงได้ ซึ่งพบว่าลามิเนตเป็น Raw Material ที่สร้างบรรยากาศทางสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจ
Material: Tile
Designer: ACa Architects
เปลี่ยนที่พักอาศัยธรรมดาเป็น “Conceptual Space ของ Living Unit” จำลองการอยู่อาศัยในห้องต่าง ๆ ผ่านกระเบื้องหลากรุ่นจาก WDC โดยแสดงลายกระเบื้องและผืนกระเบื้องอย่างชัดเจนเพื่อเปิดให้จินตนาการภาพของ Space ที่ใช้สอยจริงได้ ประกอบกับการวางเส้นทาง (Routing) ให้เดินผ่านห้องต่าง ๆ ตั้งแต่ที่ชั้นหนึ่งที่สามารถมองขึ้นไปชั้นสอง หรือเดินขึ้นบันไดซึ่งเป็นเสมือนไฮไลต์ของ Thematic Pavilion นี้ ไอเดียการออกแบบชวนให้ถึงนึกสถาปัตยกรรมจากซีรีส์ Squid Game
Material: iR-uPVC Rain Gutter, iR-uPVC Roof Sheet
Designer: PHTAA Living Design
ความคอนทราสน์ของแนวคิดในการออกแบบที่ต้องการหยิบเอาวัสดุหลักของ VG อย่าง “รางน้ำฝนและหลังคา” ที่ทำจาก iR-uPVC แกร่งกว่าไวนิลทั่วไป สีไม่ซีด ใช้ยาว ๆ 15 ปี มา re-appropriate หรือ การสร้างความเหมาะสมใหม่ ๆ ของการใช้สิ่งต่างๆ ในงานออกแบบขึ้นมา ประกอบร่างเป็นพื้นที่ Thematic Pavilion ในรูปแบบของบ้านทรงไทยยกใต้ถุนที่มีกลิ่นอายของ Traditional แต่ใช้วัสดุใหม่ กลายเป็นส่วนผสมที่แปลกแต่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังแฝงให้ผู้ชมฉุกคิดถึงเรื่อง Waste และการจัดการเอาวัสดุเหล่านี้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดขยะน้อยที่สุดในช่วงชีวิตของวัสดุ
Material: TOA Organic Care, Tile, Gypsum
Designer: ARiA Design Architects
Circle of Sustainable Life สมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติเพื่อให้เกิดการพึ่งพา – อาศัยกันจริงบนพื้นที่จริง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับทาง TOA ที่ต้องการสื่อถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน นวัตกรรม และการอยู่ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ สร้างมุมมองใหม่ของงานออกแบบพื้นที่จัดแสดงที่สวยงาม ทันสมัย ผสาน Innovation ให้เกิด New Experience และ Perception ใหม่ ๆ โดยสร้าง Unique Form และการสร้าง Visual Impact ของรูปทรงที่มีผลต่อมุมมองรอบตัวในพื้นที่จัดแสดง