29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
สถาปนิก
#architect’25

6 Thematic Pavilion – เปิดสเปซครีเอตวัสดุไร้ขีดจำกัด ในงานสถาปนิก’68

“The more you know, the more you realize you don’t know.” 

ยิ่งคุณรู้มากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งรู้ว่าคุณไม่รู้อะไรเลย

ประโยคชั้นครูของเพลโตที่พูดแทนความในใจของเราทุกครั้งที่ได้เห็นการก้าวข้ามขีดจำกัดของวัสดุผ่านการออกแบบ และปีนี้ถึงเวลาคืน form ‘วัสดุ’ อีกครั้งจากการสร้างสรรค์ Thematic Pavilion ที่ทุกคนรอคอย

ดีไซน์ของพาวิลเลียนปีนี้มาแบบจัดเต็มหลายแนว เสิร์ฟสุด กินกันไม่ลง! จาก 6 line up จับคู่ดีไซเนอร์และแบรนด์วัสดุที่คุณคุ้นเคย

  1. Looklen Architects x S-ONE GROUP
  2. pbm X Nippon Paint
  3. Flat12x X Vanachai Group
  4. A&A x Fameline
  5. ativich / studio x VG
  6. POAR x WOODEN

สำหรับเฟสแรกนี้เป็นเราขอเปิดโชว์แค่ภาพแบบ 3D และเรื่องราวเบื้องหลังคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจบางส่วน แต่เห็นแล้วอย่าเพิ่งรีบพอใจนัก เพราะเรายืนยันว่าความสวยของภาพเหล่านี้ ไม่ได้เสี้ยวของประสบการณ์จริงอย่างแน่นอน

29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568 นี้ ‘โปรดมาที่พาวิลเลียนของฉัน’

ปักหมุดปลายทางมายัง ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี แล้วเติมไฟงานออกแบบไปด้วยกัน!

Looklen Architects X S-ONE

‘ปรุงแต่งน้อยแต่ปล่อยของหนักมาก’ มีอยู่จริง!

Thematic Pavilion ผลงานการออกแบบของ ลูกเล่น สถาปนิก (Looklen Architects) ที่พาคุณฉีกกรอบแนวคิด ชวนกลับไปทบทวนศักยภาพของวัสดุฉบับดั้งเดิม นำเสนอการสัมผัสอลูมิเนียมในมุมใหม่แบบสัจจะวัสดุ ผ่านการออกแบบในดีไซน์เรียบง่าย วาง Grid บิดแกนทำให้พื้นที่โดดเด่นน่าสนใจ จากนั้นนำเส้นอลูมิเนียมมาขึ้นโครงสร้างระบบเสาคานตามแนว เปิดพื้นที่โปร่งเป็น Public Space แต่ซ่อนสุนทรียะและความสนุกจัดเต็มทุกตารางเมตร

จุดเด่นคือการเลือกเล่นท่ายาก นำอลูมิเนียมผิว Mill ผิวต้นฉบับสุด Sensitive ที่ไม่มีใครมีโอกาสได้เห็น มาพัฒนาร่วมกับแนวคิดหลักที่คำนึงถึงคุณค่าด้านความยั่งยืน กระบวนการออกแบบจึงเข้มข้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • การถอดรหัส Modular เส้นอลูมิเนียม เลือกใช้อลูมิเนียมเต็มเส้นหรือตัดแบ่งโดยคำนึงถึงระยะที่สามารถนำไปใช้ต่อได้สะดวกที่สุด
  • การคิดค้นวิธีติดตั้งแบบโมดูลาร์สานขัดกัน เลี่ยงการทำลายวัสดุ
  • การใช้อลูมิเนียมสีต้นฉบับตอบโจทย์ลดทอนค่าใช้จ่ายจากกระบวนการนำกลับไปใช้

นอกจากนี้ ภายในยังก้าวข้ามขีดจำกัดด้วยการนำเส้นอลูมิเนียมครีเอตฟอร์มที่หลากหลาย ทั้งเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของมัลติมีเดีย ดังนั้น ผู้เยี่ยมชมจึงสามารถสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ของวัสดุอลูมิเนียมได้ถึง 3 รูปแบบ

  1. การรับรู้ผ่านมุมมองและ space ของสถาปัตยกรรม
  2. การสัมผัสอลูมิเนียมผ่านเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นสำหรับ Pavilion นี้โดยเฉพาะ
  3. การสร้างปฏิสัมพันธ์กับอลูมิเนียมผ่านผลิตภัณฑ์และมัลติมีเดีย

งานดีไซน์ที่โกงความงามธรรมชาติของวัสดุมาเผยให้สัมผัสได้ทุกสัดส่วนอย่างนี้ ถ้าไม่มาเช็กอินปีนี้ ใครที่อยากเห็นการก้าวข้ามขีดจำกัดแบบสัจจะวัสดุมาร่วมสัมผัสทั้งหมดนี้ด้วยตาตัวเองกัน!

pbm x Nippon Paint

เพราะสีไม่ใช่แค่วัสดุที่ฉาบหน้าสร้างความงาม

แต่เชื่อมโยงฟังก์ชัน สะท้อนความรู้สึกและประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้คน

ผลงานการออกแบบ Thematic Pavillon ที่สร้างสรรค์โดย pbm นำเสนอแนวคิด ‘The Future City’ ของ Nippon Paint ที่มุ่งเน้นการสร้างเส้นทางแห่งการค้นพบตัวเองผ่านพลังของสี โดยแต่ละโซนของพาวิลเลียนสะท้อนมิติที่แตกต่างกันของชีวิต ผ่านพาเลตสีที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมด้วยเทคนิคนำเสนอที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นอารมณ์และสร้างความเชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เยี่ยมชม

รูปทรงของพาวิลเลียนในสไตล์ Futuristic ทรงโค้ง นักออกแบบนำแรงบันดาลใจรูปฟอร์มมาจากการกาง ‘วงล้อสี’ (Color Wheel) เครื่องมือเรียบง่ายที่สำคัญต่อการออกแบบแต่มีความซับซ้อนในตัวเอง เช่นเดียวกับวงล้อสีที่แสดงถึงการประสานกันของเฉดสีที่แตกต่างอย่างลงตัว

ไฮไลต์ที่น่าสนใจของพาวิลเลียนแห่งนี้คือการออกแบบให้เป็นพาวิลเลียนที่นำเสนอเรื่องราวสีแบบไม่ตะโกน แต่ปล่อยให้จินตนาการของคุณตะโกนสุดเสียง เพราะดีไซน์ผนังภายนอกทั้งหมดทาด้วยสีขาวทำหน้าที่เสมือนผืนผ้าใบเปล่า แต่ด้วยช่องว่างของโครงสร้างส่วนโปร่ง จะทำให้แสง สี ภายในที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ของผู้เข้าชมภายในโซนต่างๆ ลอดเผยออกมา เกิดเป็นเอฟเฟ็กต์ย้อมแต่งแต้มพื้นที่สีขาวภายนอก สร้างไดนามิกให้พื้นที่ปรับเปลี่ยนสีอย่างอิสระ เปลี่ยนบรรยากาศโดยรอบ คล้ายคุณได้มีส่วนร่วมในการแต่งแต้ม ออกแบบพาวิลเลียนแห่งนี้ด้วยตัวเอง

Flat12x X Vanachai Group

ทิ้งภาพจำ ‘ไม้อัด’ ที่เป็นงานใช้ภายในด้วยดีไซน์เชิงโครงสร้างสถาปัตยกรรม

ผลงาน Thematic Pavilion จาก Flat12x ที่นำไม้อัดต่างรูปแบบ ลวดลาย สีสัน ผิวสัมผัส และความหนา จากผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของ Vanachai Group มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ด้วยการจัดเรียงฟอร์มให้กลายเป็นอุโมงค์ ด้วยการนำแผ่นไม้หน้ากว้างมาตั้งซ้อนเลเยอร์ ขัดประกอบกันเกิดเป็นเส้นโค้งที่ยาวต่อเนื่อง และเสริมความแข็งแรงด้วยเพดานที่ทำหน้าที่เสมือนคานยึดผนังทั้ง 2 ฝั่งให้ตั้งตรงแข็งแรง

ภายในอุโมงค์แห่งนี้ จะชวนคุณเดินทางสำรวจประสบการณ์ใหม่จากวัสดุแผ่นไม้ทดแทนและซึมซับเรื่องราวของ Vanachai Group แบรนด์ผู้ผลิตแผ่นไม้ทดแทนธรรมชาติที่มุ่งมั่นรักษาอนาคตป่าและเส้นทางสู่ความยั่งยืน แถมด้านในยังติดตั้งประติมากรรมไฮไลต์ไว้บริเวณส่วนปลายของอุโมงค์เพื่อรอคุณเข้าไปค้นพบด้วย

ถ้าอยากรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร คุณต้องลองเข้ามาชมด้วยตัวเอง!

A&A x Fameline

อีกหนึ่งพาวิลเลียนแลนด์มาร์กจาก A&A ผลงานดีไซน์สุดล้ำ ที่บอกเล่าเรื่องราวผลิตภัณฑ์ควบคู่ธุรกิจ Fameline สะท้อนผ่านการออกแบบพื้นที่ ภายใต้คอนเซ็ปต์‘My Time, My Space’

Time (เวลา): ใช้แนวคิดที่สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่ต่อเนื่อง โดยการออกแบบพื้นที่ที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าของวัสดุอลูมิเนียมและโลหะที่ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย

My Space (พื้นที่ส่วนตัว): เชื่อมโยงกับความรู้สึกของ “พื้นที่ที่สะท้อนตัวตน” และ “คุณค่าในงานออกแบบ” โดยการแสดงความยืดหยุ่นและความสร้างสรรค์ของ cladding

[สัญญะการเติบโตองค์กรที่แฝงไว้ภายใน]

ไม่เฉพาะความสวยงามเท่านั้นที่ถูกถ่ายทอดออกมา เรื่องราวเบื้องหลังการเติบโตของธุรกิจจากผู้บริหารองค์กรที่ส่งต่อผ่านเจเนอเรชั่น ‘ความต่อเนื่องของพ่อสู่ลูก’ ยังหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบอีกด้วย

  • โครงสร้างเหล็กทำหน้าที่เป็นตัวค้ำยัน สื่อถึงรากของธุรกิจจากรุ่นที่ 1 คือบริษัท นิวแสงชัย (NSC Steel)  
  • วัสดุก่อสร้างด้านสถาปัตยกรรมล้ำสมัยที่ห่อคลุม คือตัวแทนของธุรกิจทายาทรุ่นถัดมาถึงปัจจุบัน ที่ให้คุณค่ากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบ

นอกจากนี้ ภายในยังเตรียมความสนุกไว้รองรับ ด้วยการยกระดับประสบการณ์รับรู้วัสดุด้วยเทคโนโลยี VR/AR พร้อมให้คุณสัมผัสภาพเสมือนจริงของโปรเจกต์ต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย ทั้งหมดนี้จึงช่วยสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับผู้เข้าชม และสะท้อนถึงแบรนด์และผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้อย่างลงตัว

ativich x VG

หลังคาคือองค์ประกอบส่วนบนสุดของอาคารที่ทำหน้าที่ปกป้องสถาปัตยกรรมและผู้ใช้งาน แต่ด้วยตำแหน่งพ้นสายตา จึงเป็นพื้นที่ที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโอกาสสัมผัสและมองเห็น

เพื่อชูบทบาทความสำคัญของหลังคา ativich จึงนำนวัตกรรมหลังคาจาก VG มาพลิกแพลงมิติ สร้างเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยระบบโมดูลาร์ เพื่อเชื้อเชิญให้เราสามารถมองเห็นและสัมผัสพื้นผิวต่างๆ ได้ในระยะใกล้ ขณะเดียวกันยังเพิ่มความน่าสนใจด้วยการเชื่อมเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับหลังคา ผ่านการดึงความทรงจำที่แตกต่างกันแม้จะอยู่ภายใต้จุดร่วม ‘หลังคาเดียวกัน’ มาสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

[ประสบการณ์ต่าง ใต้หลังคาเดียว]

ตอกย้ำคอนเซ็ปต์การสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างภายใต้หลังคาเดียวกัน ativich ใช้ไอเดียหลักการสร้างภาพของ Kaleidoscope (กล้องสลับลาย) มาเป็นแรงบันดาลใจ นำวัสดุกระจกปิดผิวใต้โครงสร้าง ตั้งแต่บริเวณเพดานของพาวิลเลียนไล่เรียงต่อเนื่องมาจนถึงผนัง ออกแบบให้เป็น ‘Forest of mirrors’ (ป่ากระจก) ดังนั้น เมื่อผู้เข้าชมเดินเข้าไปอยู่ใต้พาวิลเลียนเคลื่อนไหว จะเหมือนการหมุนกล้องสลับลายที่สร้างภาพสะท้อนต่างกัน

ด้วยมิติที่ผสมผสานการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันนี้ทำให้ผู้ชมและพาวิลเลียนเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกันและกัน เช่นเดียวกับคำกล่าวของ Winston Churchill ที่ว่า “we shape our buildings, thereafter they shape us.”!

POAR x WOODDEN

สำหรับใครที่ไม่คลุกคลีในวงการไม้อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าลายไม้ตรงสวย ทำได้ยาก ราคาสูง และสะท้อนความสามารถของการผลิต แต่คุณสามารถสัมผัสประสบการณ์นี้อย่างใกล้ชิดได้ผ่านการออกแบบ

POAR จับมือกับ WOODDEN ส่ง Thematic Pavilion รูปทรงเรียบ สงบและสง่างาม ที่ก่อร่างจากชั้นวางไม้สแตนเลส ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากกระบวนการจัดเก็บไม้ที่คัดสรรลวดลายภายในโรงงาน ประกบกับอาคารทรงจั่ว distort ที่นำผลิตภัณฑ์ผนังตกแต่งสามมิติ mozu และผนังไม้ pattern modular วัสดุที่ใช้ในงานภายในมาสร้างเพื่อแสดงความเป็นสถาปัตยกรรม ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ภายใน และภายนอกอย่างชัดเจน

ลักษณะการประกบที่เว้นช่องว่างตรงกลางไว้เพื่อเป็นซอกทางเดินเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบประสบการณ์ให้ผู้รับชมได้ชะลอการเดิน รับรู้วัสดุในระยะใกล้ตา การชมพาวิลเลียนจึงสามารถสัมผัสประสบการณ์ได้ทั้งระยะไกล และใกล้

[เอฟเฟ็กต์จากความประณีตของวัสดุ]

จุเดเด่นของการออกแบบที่ดึงดูดสายตาและสื่อสารเรื่องราวได้น่าสนใจ คือขนาดความยาวท่อนไม้ที่ไม่เท่ากันบนชั้นวาง ไม่ได้มีไว้ส่งเสริมเอฟเฟ็กต์แสงเงาจากความเคลื่อนไหวของผู้ชมที่อยู่ด้านหลังชั้นวางไม้เพียงอย่างเดียว แต่สะท้อนภาพจริงของกระบวนการผลิตวัสดุ เพราะไม้ธรรมชาติแต่ละชิ้นมีช่วงลายที่ตรงและสวยงามไม่เท่ากัน WOODEN จึงคิดค้นเทคนิคตัดไม้ให้ใบเลื่อยกินไม้น้อยที่สุดเพื่อประหยัดไม้และคงความสมบูรณ์ของลายไม้ไว้ ดังนั้น กว่าจะเป็นไม้พื้นขนาดใหญ่ลายตรงยาวที่คุณเคยเห็นจึงมาจากความประณีตของการต่อไม้ ‘ชิ้นต่อชิ้น’ เข้าด้วยกัน

ป้ายกำกับ :
แชร์