29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
#architect’25

THEATER HOUSE ตอบทุกความต้องการของคนรักภาพและเสียง พร้อมเปิดตัว Home Theater Knockdown ในงานสถาปนิก’68

          THEATER HOUSE บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ Home Theater และ Home Cinema ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ในการดำเนินธุรกิจระบบภาพและเสียง THEATER HOUSE พบปัญหาและความต้องการที่หลากหลายจากผู้ใช้งานจริง ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบแสง, สี, เสียง รวมถึงการจัดการระบบทางเดินอากาศ ด้วยประสบการณ์ในการแก้ไข เรียนรู้ และพัฒนาระบบ ทำให้ THEATER HOUSE ได้รับความนิยมและถือเป็นแบรนด์ชั้นของประเทศไทย

          ร่วมถอดรหัสแนวคิดและประสบการณ์ของ THEATER HOUSE รวมถึงทิศทางการพัฒนา Home Theater พร้อมสำรวจการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ผ่านการสนทนากับ คุณพีรพล เกษมสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เธียเตอร์ เฮ้าส์ จำกัด

THEATER HOUSE กับบทบาทผู้เชี่ยวชาญด้าน Home Theater

          คุณพีรพล บอกเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา ในการดำเนินธุรกิจ Home Theater ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจที่กล่าวถึงการมีส่วนช่วยในการพัฒนา และสร้างประโยชน์ให้วงการออกแบบ-ก่อสร้าง ในแง่มุมของผู้เชี่ยวชาญด้าน Home Theater ซึ่งถือเป็นความสามารถเฉพาะของสายอาชีพ

     “การทำห้อง Home Theater ต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ความเชี่ยวชาญ เพราะถือเป็นวิชาชีพเฉพาะมีความเกี่ยวข้องกับภาพและเสียง ฉะนั้นในส่วนของการคุมแสง สี ต้องมีการคำนวณให้ดีเพื่อให้ทิศทางของภาพถูกต้อง แสงและสีไม่เพี้ยน อีกทั้งในการเลือกใช้วัสดุต้องเลือกใช้วัสดุที่มีเนื้อสัมผัสเหมาะสม ไม่ใช้วัสดุที่เป็นสัมผัสมันเงาเพื่อให้ภาพคมชัด รวมถึงทำให้ภาพที่ฉายออกมาดูสบายตา ลดแสงสะท้อน”
     “ด้านการออกแบบหากลูกค้ามีการว่าจ้างตั้งแต่เริ่มก่อสร้างบ้าน จะสามารถคำนวณได้ว่าห้องควรมีขนาดเท่าไหร่ เพื่อคำนวณตำแหน่งการจัดวางให้สอดคล้องกับตำแหน่งการเดินทางของเสียง ถ้าการจัดวางสัดส่วนของห้องไม่ดี เสียงเบสจะหักล้างกันทำให้แก้ไขได้ยาก”
     “นอกจากนี้ในด้านการก่อผนัง THEATER HOUSE มีการอัปเดตเทรนด์วัสดุการก่อผนังอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจว่าควรใช้อิฐหรือก่อผนังอย่างไร ให้ได้ค่าการกั้นเสียงสำหรับใช้ในห้อง Home Theaterเพื่อให้ความถี่ในห้องคงที่และไม่รบกวนห้องข้างๆ”

THEATER HOUSE พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการรับฟังเสียงผู้ใช้งาน

          คุณพีรพล ได้กล่าวถึงภาพรวมภายในงานสถาปนิก’67 ที่ผ่านมา ถึงความพึงพอใจในการเข้าร่วมงานสถาปนิก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายในงาน รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งขึ้นจากการรับฟังความต้องการของผู้ใช้

         “ปีที่ผ่านมามีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ซับอินฟราโซนิค (Infrasonic) ซึ่ง THEATER HOUSE เป็นแบรนด์เดียวในประเทศไทยที่มีผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยลักษณะของซับอินฟราโซนิค (Infrasonic) คือเสียงความถี่ต่ำกว่าการได้ยิน เป็นการรับคลื่นด้วยความรู้สึก ซึ่งในโรงภาพยนต์ยังไม่มีการใช้งานระบบเสียงดังกล่าว ทำให้หาได้ฟังยาก THEATER HOUSE พยายามนำเสนอให้เห็นว่า Home Theater หรือ Home Cinema ของบริษัท พิเศษกว่าโรงภาพยนตร์อย่างไร ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในด้านการนำเสนอเรื่องดังกล่าว คนให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น

          “นอกจากนี้ THEATER HOUSE ยังได้นำเสนอจอ ALR ซึ่งตั้งในห้องรับแขกที่มีไฟมาผสมผสานได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นห้องมืด เป็นระบบ Ultra-Short Throw Laser Projector ฉายระยะสั้น ซึ่งหมายความว่า Home Theater สามารถฉายที่ห้องใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องมืดมาก แต่มีข้อจำกัดด้านขนาดของจอ ซึ่งหากต้องการใช้จอที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้จอ LED Module ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ด้วยจอขนาดใหญ่และสามารถฉายภาพได้ แม้สภาพแวดล้อมโดยรอบจะมีแสงมาก”

          “ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดจากการที่บริษัทนำท้อเสียงของธเพื่อให้สอดคล้องความต้องการของผประสบการณ์จากงานปีที่ผ่านมา นำมาปรับปรุงเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองทุกความต้องการ

THEATER HOUSE กับเส้นทางที่ไร้คู่แข่งทางธุรกิจ

          จากการต่อบทสนทนากับคุณพีรพล ได้มีการสอบถามถึงวิธีการที่ทำให้แบรนด์ มีความแตกต่างจากคู่แข่งว่ามีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร ทำให้ทราบว่าช่วงเวลากว่า 30 ปี ในเส้นทางธุรกิจระบบภาพและเสียง THEATER HOUSE ไร้ซึ่งคู่แข่งทางธุรกิจในการทำ Home Theater และ Home Cinema โดยคุณพีรพลขยายความต่อว่า “THEATER HOUSE ไม่มีคู่แข่ง หากมีก็มักจะเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ทำเฉพาะกิจไม่ได้ทำเต็มรูปแบบ ส่วนมากจึงอยู่ในรูปแบบของพันธมิตรทางธุรกิจ แชร์ความรู้ผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกัน

          “THEATER HOUSE เจาะธุรกิจ Home Theater และ Home Cinema โดยจะเป็นคนละส่วนกับการทำโรงภาพยนตร์ เพราะโรงภาพยนตร์มีการวางระบบไว้แล้วว่าห้องต้องอยู่ที่ขนาดเท่าไหร่ รวมถึงจำนวนที่นั่งต้องจำกัดกี่แถว และตำแหน่งของลำโพงจะถูกคำนวณไว้แล้วซึ่งต้องติดตั้งตามระบบที่วางเอาไว้ จึงถือเป็นเรื่องง่ายในการติดตั้ง”

          “ซึ่งตรงกันข้ามกับ Home Theater ที่มีโอกาสเจอห้องที่ไม่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง Acoustic จึงออกมาไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ต้องแก้ปัญหาในหลาย ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็น Room modes, STC ปัญหาการรั่วของเสียงที่ออกไปนอกบริเวณที่ไม่ต้องการ รวมไปถึงเสียงจากภายนอกหลุดเข้าไปภายในบ้าน ทำให้รายละเอียดของเสียงที่ได้รับลดลง จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการทำ Home Theater มีความละเอียดซับซ้อนทำให้หลายแบรนด์ที่ขาดประสบการณ์ รวมถึงความรู้ความเข้าใจ ไม่สามารถยืนบนเส้นทางธุรกิจนี้ได้ จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ปัจจุบัน THEATER HOUSE ยังไม่มีคู่แข่งทางธุรกิจ”

THEATER HOUSE ก้าวทันเทรนด์เพื่อการใช้งานที่ดีกว่า

          ปัจจุบันสังคมให้ความสนใจกับกระแสรักษ์โลก การใช้ชีวิตให้ห่างไกลจาก PM 2.5 และการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การออกแบบรวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการเพิ่มฟังก์ชันและเลือกใช้วัสดุที่ตอบโจทย์กับเทรนด์ เช่นเดียวกับ THEATER HOUSE ที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยกับผู้ใช้ และสอดคล้องกับเทรนด์ที่กล่าวมาข้างต้น

          “Formaldehyde เป็นสารเคมีซึ่งเป็นส่วนประกอบในวัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไม้อัด, สี, กาวยาง, ผ้าและหนัง สารจะถูกฝังอยู่ในวัสดุเหล่านี้มาตลอด โดยเฉพาะห้อง Home Theater ที่เป็นห้องปิด ทำให้เกิดการตกค้างของสารพิษดังกล่าวจึงมีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากไม่มีช่องในการระบายอากาศหรือสารตกค้าง THEATER HOUSE จึงเลือกไม้อัดเกรด E0 มาโดยตลอดเพราะไม่มีสารตกค้างของสารเคมี แม้จะราคาสูงแต่ช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยห่างไกลจากสารเคมี”

          “นอกจากนี้ THEATER HOUSE ยังมีการพัฒนารูปแบบการหมุนเวียนอากาศด้วยการเติม Positive pressure ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล ที่ใช้หลักการเติมอากาศเข้ามาภายในห้อง โดยผ่านการกรองหยาบ กรองกลิ่น กรองละเอียด โดยหลักการดังกล่าวสามารถกรอง PM 2.5 ได้อีกด้วย ซึ่งแตกต่างกับเครื่องฟอกอากาศและเครื่องปรับอากาศ”

          “เนื่องจากเครื่องปรับอากาศ ทำหน้าที่ดึงอากาศภายในห้องมาปรับให้เกิดความเย็นเท่านั้น ไม่ได้นำอากาศใหม่เข้าไปภายในห้อง เช่นเดียวกับเครื่องฟอกอากาศที่สามารถฟอกอากาศและฟอกกลิ่นได้จริง แต่ภายในห้องก็ไม่ได้มีการนำเข้าออกซิเจนใหม่ เมื่ออยู่ในห้องที่ปิดตลอดเวลา ออกซิเจนภายในห้องก็จะน้อยลง ในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนจากเดิมอยู่ที่ 21% แต่เมื่ออยู่ในห้องปิดออกซิเจนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อลดจนเหลือ 17% จำให้เกิดอาการง่วงดูหนังไม่จบเรื่องนั่นเอง”

          “ในด้านของผู้สูงอายุ THEATER HOUSE มีความห่วงในเรื่องของการกั้นเสียง ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมักอยู่ชั้นหนึ่งของบ้าน เนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต เช่นเดียวกับห้อง Home Theater ที่นิยมติดตั้งที่ชั้นหนึ่งของบ้าน ดังนั้นการกั้นเสียงเพื่อไม่ให้เกิดเสียงรบกวนถือเป็นเรื่องที่ THEATER HOUSE ให้ความสำคัญอย่างมาก THEATER HOUSE คำนึงถึงค่า STC หรือค่าการกั้นเสียงที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้รบกวนห้องผู้สูงอายุ”

          “ด้วยความใส่ใจที่รอบด้าน ในส่วนของดีไซน์มีการออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ โดยการเลือกวัสดุที่มีดีไซน์เป็นรูปแบบกลมมน ลบความเหลี่ยมของวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ในส่วนของพื้น THEATER HOUSE มีการเลือกใช้วัสดุในกลุ่ม SPC กระเบื้องยาง อีกทั้งยังมีการคำนวณการสัญจรภายในห้องเพื่อเว้นพื้นที่สำหรับรถเข็น รวมไปถึงการจัดองศาการนั่ง อีกทั้งยังมีการออกแบบโซฟาภายในห้อง ให้ตรงกับวิสัยของผู้สูงอายุอีกด้วย เพื่อป้องกันกรณีที่ผู้สูงอายุบาดเจ็บหรือขยับร่างกายในส่วนใดไม่ได้ ก็จะมีเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องที่รับกับสรีระได้”

THEATER HOUSE กับการเปิดตัว Home Theater Knockdown

          THEATER HOUSE เผยถึงความน่าสนใจของงานสถาปนิก’68 ถึงการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ภายในงาน ในปีที่ผ่านมาอาจมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานภายใน ห้อง Home Theater แต่สำหรับงานสถาปนิก’68 ที่กำลังจะถึงนี้ THEATER HOUSE ต้องการสร้างปรากฏการณ์ใหม่เปิดตัว Home Theater Knockdown เอาใจคนรักภาพและเสียงโดยไม่รบกวนภายในบ้านหรือเพื่อนบ้าน

          “เมื่ออยู่วงการ Home Theater มานานก็จะพบเซลลูชั่นที่หลากหลาย ก่อให้เกิดแนวคิดพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมา โดยปีนี้บริษัทมีแนวคิดเปิดตัว Home Theater Knockdown เพราะบริษัทเล็งเห็นว่ามี บ้าน Knockdown ที่ไปตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ”

          “ซึ่งในปัจจุบันบ้าน Knockdown มาพร้อมฟังก์ชันสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องปรับอากาศ, ม่านไฟฟ้า, อ่างอาบน้ำ, โทรทัศน์ที่สามารถดูโฮมเธียเตอร์ได้ แต่จะไม่ใช่ Home Theater ที่เต็มรูปแบบ”

          “ดังนั้น THEATER HOUSE จึงต่อยอดแนวคิดสำหรับผู้ที่มีบ้านอยู่แล้ว และมีพื้นที่ใกล้บ้านที่มีขนาด 4×7 เมตรขึ้นไป THEATER HOUSE สามารถรังสรรค์ Home Theater Knockdown ที่มีค่าการกั้นเสียงที่สูงมากให้ลูกค้าได้ โดยใช้เวลา 30-45 วัน”

          “โดยโครงสร้างที่ใช้จะมีรูปแบบเบา แต่สามารถกั้นเสียงได้ดีกว่าผนังปูน และมีการออกแบบ Acoustic รวมถึงเครื่องเสียงให้ ก่อนจะยกไปให้ลูกค้าโดยไม่ต้องตอกเสาเข็ม ตอบโจทย์คนรักภาพและเสียงที่ไม่สามารถสร้าง Home Theater ภายในบ้านได้ ด้วยข้อจำกัดของผู้ที่ต้องการมีห้อง Home Theater แต่ไม่ต้องการแก้สัดส่วนของบ้าน เพราะไม่อยากให้รูปทรงของบ้านเปลี่ยนไป”

          ร่วมสัมผัสแนวคิดผู้เชี่ยวชาญด้าน Home Theater และนวัตกรรมอันล้ำสมัยจากบริษัท เธียเตอร์ เฮ้าส์ จำกัด ได้ที่บูธหมายเลข L405 ในงานสถาปนิก’68 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 37 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00-20.00 น. ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 เมืองทองธานี

ป้ายกำกับ :
แชร์
#architect’25