29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
29 เม.ย. - 4 พ.ค. - อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
สถาปนิก
#architect’25

Thematic Pavilion: ‘สีไม่ใช่แค่ความงาม แต่เป็นไลฟ์สไตล์สู่อนาคต’ ถอดรหัสพาวิลเลียนสุดล้ำสะกดสายตาจาก Nippon Paint x pbm

pbm x Nippon Paint

เชื่อว่าทันทีที่เปิดตัวพาวิลเลียนทั้งหมดของงานสถาปนิก’68 หนึ่งในดีไซน์ที่ดึงดูดสายตาตั้งแต่แรกเห็น คงต้องมีพาวิลเลียนสไตล์ Futuristic รูปทรงแปลกตา ที่คล้ายจะพาเราเข้าไปในหนัง Sci-fi สักเรื่องแห่งนี้รวมอยู่ในนั้น

ผลงาน Thematic Pavilion ตรงหน้าเป็นผลงานการออกแบบสุดล้ำที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง 2 ขั้วความสร้างสรรค์ คือ Nippon Paint แบรนด์สีชั้นนำระดับโลก ผู้ครองตำแหน่ง Asia’s No.1 ต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปี กับ pbm สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมแนวหน้าที่กวาดรางวัลในระดับสากลและได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนาน

มีอะไรในพาวิลเลียน? ที่มาของแนวคิดและแรงบันดาลใจการออกแบบเป็นอย่างไร? เรามาเจาะลึกทุกแง่มุมที่ซ่อนไว้กับ 2 นักออกแบบ คุณอีฟ – กังวานสิริ เตชะวณิช – studio director และ คุณตี๋ – จารุพัฒน์ วิจิตร์ตราภัทร์ Senior Designer กันถึงออฟฟิศ pbm

FUTURE CITY

จุดเริ่มต้นของการออกแบบมาจากแนวคิด ‘Future City’ ของ Nippon Paint ที่สะท้อนความเป็นแบรนด์สีแห่งอนาคต ซึ่งไม่เพียงตอบโจทย์ทุกการใช้งาน แต่ยังเชื่อมโยงสีเข้ากับไลฟ์สไตล์ การอยู่อาศัย เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม ก้าวพัฒนาไปข้างหน้าร่วมกันอย่างสมบูรณ์แบบในทุกช่วงเวลาของชีวิต

โดยถ่ายทอดผ่านพื้นที่ Thematic Pavilion พร้อมมอบประสบการณ์ล้ำสมัยและเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสทุกมุมมองใหม่เพื่อต่อยอดไอเดียอย่างไร้ขีดจำกัด ผ่านพื้นที่พาวิลเลียนที่แบ่งออกเป็น 4 โซนหลัก ได้แก่

1. Painting the Future – พื้นที่ Immersive รองรับการปฏิสัมพันธ์ ชวนคุณร่วมสร้างเมืองแห่งอนาคต

2. Colour of Citizen – พื้นที่ Interactive จากเทคโนโลยี Brainwave ถอดรหัสคลื่นสมองสู่สีสันเฉพาะตัว

3. Inspired by You – พื้นที่อเนกประสงค์ จุดรวมพลพบปะสังสรรค์และรับแรงบันดาลใจ4. InspiringCafe – พื้นที่คาเฟ่สำหรับผ่อนคลาย แมตช์สีกับเครื่องดื่ม เพื่อเติมความสดชื่นและความสดใส

‘NIPPION PAINT’S FAN DECK’ INSPIRATION

หลังจากรับโจทย์ด้านคอนเซ็ปต์และฟังก์ชันแล้ว เมื่อพัฒนามาสร้างรูปทรงสถาปัตยกรรม คุณตี๋เล่าว่าได้แรงบันดาลใจรูปลักษณ์จากใบพัดสี (Fan deck) อุปกรณ์พื้นฐานชิ้นสำคัญสำหรับนักออกแบบ นำมาครีเอตฟอร์มโดยหยิบพฤติกรรมการดึงใบพัดสีของนักออกแบบมาประยุกต์ 

เกิดเป็นโครงสร้างที่ประกอบซ้อนกันระหว่างส่วนทึบและส่วนโปร่ง ออกแบบให้ตอบโจทย์ทุกกิจกรรมในพื้นที่ ขณะเดียวกันยังสะท้อนภาพการใช้งานใบพัดสีตามความเป็นจริงที่ให้มิติต่างกัน เมื่อมองต่างแกน ต่างองศา ในต่างสภาพแวดล้อม

พาวิลเลียนจะมีลักษณะกึ่งปิดกึ่งโปร่ง (Solid & Void) ครับ จุดเริ่มต้นของใบพัดจะเรียงซ้อนกันจนทึบมากๆ แต่ตรงช่วงปลายจะกางออกจากกัน ถ้าเดินจากทางเข้าหลัก ภาพจะเป็นการไล่ระดับจากจุดโปร่งไปสู่ความทึบที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่ทึบที่สุดข้างใน ซึ่งเป็นเลเยอร์ของ Immersive หลังจากนั้นจากจุดทึบจะไล่ไปสู่ความโปร่งอีกครั้งบริเวณทางออก

คล้ายกับคุณกำลังเดินเข้าไปในใบพัดสีจากทางเข้าหลักที่เป็นสีตระกูล Glitter แล้วเวลาคุณเดินออกไปปลายทาง ก็เหมือนคุณกางใบพัดออกมา ซึ่งจะกลายเป็นสีทั้งหมดจำนวน 2,338 เฉดครับ

นอกจากไอเดียที่น่าสนใจ โครงสร้างของพาวิลเลียนก็พิเศษไม่แพ้กัน เพราะออกแบบโดยใช้วัสดุเหล็กโค้งและไม้ ประกอบกันด้วยเทคนิคเข้าไม้แบบสลัก ฉบับภูมิปัญญาไทย เชื่อมต่อแข็งแรงไร้โครงแขวน แสดงความศักยภาพในเชิงวิศวกรรม ขณะเดียวกันข้อดีของการใช้วิธีเข้าไม้วิธีนี้ ตัวสลักยังทำหน้าที่เป็นแกนยึดที่ปรับองศาใบพัดสีแต่ละใบให้ล็อกในตำแหน่งตามต้องการได้

ที่สำคัญหลังสิ้นสุดการจัดแสดง pbm ยังคำนึงถึงการส่งต่อความสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน ด้วยการวางแผนนำส่วนใบพัดไม้ ตัดเป็นวัสดุตัวอย่างให้กับดีไซเนอร์ได้นำไปใช้งานต่อแบบไม่เหลือเศษ

FUTURE BEYOND COLOR

ด้านการเลือกใช้สี ภาพรวมการใช้งานจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ภายนอกของพาวิลเลียนที่ใช้สีขาวทั้งหมด และ พื้นที่ภายใน ตกแต่งด้วยพาเลทสีจากใบพัดของ Nippon Paint ในบริเวณที่เป็น physical ส่วนบริเวณที่เป็น Immersive และ Interactive เน้นใช้สีขาวเป็นหลักเช่นเดียวกัน

แน่นอนว่าถ้าเปรียบเทียบสัดส่วนการใช้สีแล้ว สิ่งที่ชวนให้ตั้งคำถามตามมาทันทีคือ ทำไมพาวิลเลียนผลิตภัณฑ์ ‘สี’ ทำไมถึงเลือกให้น้ำหนักกับ ‘สีขาว’ นัก ซึ่งประเด็นนี้คุณอีฟให้คำตอบไว้อย่างน่าสนใจว่า

“การทำพาวิลเลียนสี ทุกคนอาจจะรู้สึกว่าต้องใช้สีแบบตะโกน แต่ Nippon Paint กับเราเห็นตรงกันว่าอยากให้ด้านนอกใช้สีขาว ส่วนด้านในเป็นสี ซึ่งรูปแบบดีไซน์ที่มีลักษณะคล้ายมู่ลี่ จะเผยให้เห็นสีบางส่วนผ่านช่องว่างที่เกิดจากการหักองศาของใบพัดสี ที่สำคัญเรามองว่า ‘Future City’ ควรใช้สีขาวเพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าชมได้จินตนาการ”

และถึงแม้จะใช้สีขาว แต่ขาวของเราไม่เท่ากัน! เพราะ pbm ไม่ได้ใช้สีขาว นิ่งสงบ ตาม stereotype อย่างที่คุณคิด แต่พลิกมุมมองเติมลูกเล่นให้จัดจ้าน เรียกร้องสายตา ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ให้เทคนิค Effect Paint และ Texture 

“สิ่งที่น่าสนใจของ Nippon Paint ที่ส่วนตัวเคยใช้งานและยังหาไม่ได้จากผลิตภัณฑ์ของแบรนด์อื่นคือ

เอฟเฟ็กต์ที่สวยและทำงานง่ายค่ะ สะท้อนว่า Nippon Paint ไม่ใช่แค่แบรนด์สี แต่เป็นไลฟ์สไตล์”

ขาวแบบนี้ ดีแบบใด ในการออกแบบ

  • สีขาวในพื้นที่ Solid Structure ตอบโจทย์การรองรับเทคโนโลยีในพื้นที่ Immersive และ Interactive
  • สีขาวเมื่อรายล้อมด้วยพื้นที่ข้างเคียงแข่งขันกันใช้สี คือจุดพักสายตา สร้างความต่าง โดดเด่นแก่พาวิลเลียน

นอกจากนี้ การเลือกใช้สีขาวที่ใช้ Effect Paint และ Texture ยังเป็นวิธีใช้ประโยชน์จากบริบทรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสีสันจาก Media ภายในหรือแสงสว่างภายนอกในฮอลล์ เมื่อตกกระทบบนพื้นผิวพาวิลเลียนจะแสดงมิติและความงามที่ต่างออกไป พาวิลเลียนแห่งนี้จึงที่ทำหน้าที่เสมือนผืนผ้าใบแคนวาสที่มีไดนามิกตลอดเวลา

CREATIVE EXTRACTION IN EVERY SHADE OF COLOR

อีกไฮไลต์สำคัญที่เปล่งประกายในงานออกแบบ คือ การกลั่นไอเดียสู่สีสันใหม่ที่ไม่เคยออกแบบเพื่อใช้งานที่ไหน แต่เขากล้าใส่สุดเสิร์ฟเฉพาะใน Thematic Pavilion แห่งนี้เท่านั้น

การร่วมงานกับ Nippon Paint ทำให้รู้ว่าเขาสามารถซัพพอร์ตดีไซเนอร์ได้ค่ะ ก่อนหน้านี้เราเป็นลูกค้าทางอ้อมเพราะเราใช้สี Nippon Paint ในงาน เราจะได้เลือกสีผ่านแคตตาล็อก เลือกเอฟเฟกต์สี (Effect Paint) ที่ตอบโจทย์จากผลิตภัณฑ์ที่เขาคิดมาแล้ว
แต่พอได้มาร่วมงานกันครั้งนี้มันต่างออกไป เพราะโจทย์ที่เราอยากได้ ทาง Nippon Paint สร้างมาให้ใหม่ ซึ่งตามปกติแบรนด์ใหญ่อาจจะมีลำดับขั้นตอนที่ทำให้ขอได้ยาก แต่ Nippon Paint เป็นแบรนด์ใหญ่ที่มีกลไกรวดเร็วมากในการผลิตนวัตกรรม การร่วมมือครั้งนี้เลยทำให้เราเข้าใจว่า คำว่า Future City ไม่ใช่แค่ Keyword แต่เป็นอนาคตที่เขาไปกับเราได้จริงๆ ถ้าเราคิดอะไรแล้วโยนกลับไป เขาจะสามารถทำให้ได้ทันที

pbm x Nippon Paint

ใครที่อยากรู้ว่าเฉดสีใหม่นี้คืออะไร และนิยามของ ‘สี’ ที่ไม่ใช่แค่ความสวยงามแต่เป็นไลฟ์สไตล์ในพื้นที่เชิงทดลองนี้จะเป็นแบบไหน อย่าให้รูปมาหลอกตา คุณก็รู้ว่า ‘สี’ ที่สะท้อนผ่านเลนส์นั้นเก็บ vibe ไม่ติด และสู้เอฟเฟกต์ ผิวสัมผัส หรือสีสันงานจริงไม่ได้เลย…มาเล่นกันเถอะ! pbm เขาฝากชวน

นี่เป็นมิติใหม่ของ Thematic Pavilion ที่ไม่ได้เป็นแค่งานสถาปัตยกรรมค่ะ แต่รวมศาสตร์ของการเล่าเรื่อง คอนเทนต์ รวมไปถึงการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างสรรค์มาเพื่อ Thematic นี้โดยเฉพาะ

นับถอยหลัง แล้วมาพบกันที่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี วันที่ 29 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2568 

ป้ายกำกับ :
แชร์
#architect’25