ถ่ายภาพให้โดดเด่น เน้นสถาปัตยกรรมให้สวย ด้วยเพียงกล้องมือถือก็ได้!

ภาพถ่ายจะสวยก็ด้วยมุมมองและเวลาที่เหมาะสม

สถาปัตยกรรมเดียวกัน แม้จะให้ช่างภาพยืนถ่ายอยู่ขนาบข้างกันก็สามารถดึงลักษณะเด่นหรือปิดบังลักษณะด้อยทางสถาปัตยกรรมได้ ด้วยทิศทางองศาของกล้องที่แตกต่าง

และสถาปัตยกรรมเดียวกัน แม้จะเป็นช่างภาพคนเดียวถ่ายหลาย ๆ ครั้ง ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ก็อาจทำให้ตึกที่เคยสว่างสดใสดูลึกลับน่าค้นหาเมื่อเวลากลางคืนมาถึงก็ได้

ไม่ว่ากล้องที่ช่างภาพเหล่านั้นใช้จะเป็นอย่างไร ก็ล้วนแล้วแต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสถานที่และเวลาที่ถ่ายด้วยกันทั้งสิ้น กล้องที่ดีที่สุด จึงคือกล้องที่อยู่ในมือคุณ ดังคำกล่าวที่ว่า “The best camera, is the one that you have with you.”

และในยุคปัจจุบัน มือของคนจำนวนมากก็ถือกล้องประสิทธิภาพสูงอยู่แล้วในรูปแบบของโทรศัพท์มือถือ อย่างเช่นไอโฟน

“ความลับของการถ่ายภาพคือการจัดองค์ประกอบภาพ”

จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์ หรือ “joez19

กล้องในโทรศัพท์เปิดโอกาสให้เราสามารถบันทึกตึก อาคาร บ้าน หรือแม้แต่คาเฟ่ตกแต่งสวยงามที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้ โดยไม่ต้องขนอุปกรณ์ขนาดใหญ่หรือใช้เครื่องมือปรับแต่งอะไรนัก ซึ่งส่งผลดีมากมาย เพราะโอกาสที่เราจะเจอสถานที่สวย ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกเวลา

ใน บทสัมภาษณ์กับ The Cloud ของเขา จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์ หรือ “joez19” ช่างภาพผู้ใช้เพียงไอโฟนในการถ่ายจนโด่งดังขึ้นไปอยู่บนบิลบอร์ดของแอปเปิลก่อนจะเป็นผู้ทำหน้าที่รับ ทิม คุก (Tim Cook) CEO ของ Apple ในทริปเมืองไทย เผยเคล็ดลับในการถ่ายของเขาว่าคือ การจัดองค์ประกอบภาพ

ภาพถ่ายของเขาเล่นกับแสงอาทิตย์ เงาร่ม และแอ่งน้ำ ซึ่งเมื่อผ่านมุมมองของเขา ก็ทำให้เกิดภาพที่มีความสวยงามแปลกใหม่

บันทึกความงามของช่วงเวลาและมุมกล้องนั้นเอาไว้


ช่างภาพไอโฟน x สถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่างภาพมีบทบาทอย่างมากต่องานสถาปัตยกรรม คุณ อิศรา อารีรอบ หนึ่งในประธานการจัดงานสถาปนิก’65 เคยเล่าไว้ว่าเขาดูงานสถาปัตยกรรมบางงานจากหน้าหนังสือแล้วเห็นถึงความอลังการ แต่เมื่อได้เห็นในสถานที่จริงกลับไม่มีมุมที่เห็นในหนังสือเลย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำเสนอของช่างภาพ ผู้เห็นในสิ่งที่สถาปนิกหวังให้เป็น ผู้สำคัญไม่แพ้กับสถาปนิกเลย

อ่านเพิ่มเติม: บทสัมภาษณ์ประธานจัดงานทั้ง 3 ท่าน https://architectexpo.com/2022/9864

จะดีแค่ไหนหากสถาปนิกและช่างภาพได้มาทำงานร่วมกัน?

คำรน สุทธิ แห่ง Eco Architect

นิทรรศการ PROFESSIONAL COLLABORATION  เป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปนิก’65 สถาปนิกและนักสร้างสรรค์หลากสาขาวิชาชีพจากภูมิภาคต่าง ๆ จะจับคู่ร่วมงานกันทั้งหมด 12 คู่ และนำเสนอผลงานในนิทรรศการนี้ ผ่านการสื่อสารข้ามภูมิภาคแบบ New Normal ซึ่งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานร่วมกันไปเลยในอนาคต ไม่ใช่แค่ภาวะฉุกเฉินในช่วงโควิด-19

การถ่ายภาพของจีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์จะมาพบกับสถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมโดย คำรน สุทธิ แห่ง Eco Architect

คุณคำรน สุทธิ เป็นสถาปนิกที่เติบโตมาจากพื้นที่ชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้เขาเห็นความสำคัญของธรรมชาติและความงามที่อยู่รอบตัว ปัจจุบันเขาทำงานในตำแหน่ง Managing Director อยู่ที่ Eco Architect ซึ่งออกแบบสถาปัตยกรรมแบบเน้นการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อสถาปัตยกรรมในพื้นที่เขตร้อนชื้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ Eco Proficiency, Vernacular Architecture, Human Centric และ Harmony

นอกจากการทำงานร่วมกันของ คำรน สุทธิ และ จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์ แล้ว ยังมีสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ท่านอื่นพร้อมนำเสนอผลงานอีกที่ งานสถาปนิก’65 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 เม.ย. – 1 พ.ค. 65 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับผู้สนใจจองพื้นที่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ArchitectExpo.com/2022/space-reservation/ หรือ โทร. 02-717-2477 อีเมล [email protected]

Similar Posts