Thematic Pavilion
การเข้าร่วม
ฟรี
เวลาจัดแสดง
26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565
10.00 – 20.00 น.
สถานที่
ชาเลนเจอร์ ฮอลล์
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ครั้งแรกภายในงานสถาปนิก’65 ที่จะมีการจัดแสดงพื้นที่ Thematic Pavilion ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาปนิกและผู้แสดงสินค้า ในการนำเสนอการออกแบบที่สอดคล้องกับแนวคิดการจัดงานโดยใช้ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างจากผู้แสดงสินค้า นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมงานร่วมโหวตผลงาน Thematic Pavilion ที่ชื่นชอบ เพื่อเฟ้นหาผู้ชนะและคว้ารางวัล Thematic Pavilion of the Year 2022 ไปครอบครอง
VG X PHTAA
ความคอนทราสน์ของแนวคิดในการออกแบบจาก PHTAA (Designer) ที่ต้องการหยิบเอาวัสดุหลักของ VG (Supplier) อย่าง “รางน้ำฝนและหลังคา” ที่ทำจาก iR-uPVC แกร่งกว่าไวนิลทั่วไป สีไม่ซีด ใช้ยาว ๆ 15 ปี มา re-appropriate หรือ การสร้างความเหมาะสมใหม่ ๆ ของการใช้สิ่งต่างๆ ในงานออกแบบขึ้นมา ประกอบร่างเป็นพื้นที่ Thematic Pavilion ในรูปแบบของบ้านทรงไทยยกใต้ถุนที่มีกลิ่นอายของ Traditional แต่ใช้วัสดุใหม่ กลายเป็นส่วนผสมที่แปลกแต่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์
นอกจากนี้ยังแฝง Message ให้ผู้ชมฉุกคิดถึงเรื่อง Waste และการจัดการเอาวัสดุเหล่านี้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดขยะน้อยที่สุดในช่วงชีวิตของวัสดุ ทั้งหมดเพื่อเน้นย้ำตัวตนใหม่ของวัสดุที่เกิดจากกระบวนการ re-appropriate ที่ทางสถาปนิกคิดขึ้นมาเพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับวัสดุของ VG
WDC x ACa
ตีความ Space ในสไตล์ของ ACa (Designer) เปลี่ยนที่พักอาศัยธรรมดาเป็น “Conceptual Space ของ Living Unit” จำลองการอยู่อาศัยในห้องต่าง ๆ ผ่านกระเบื้องหลากรุ่นจาก WDC (Supplier) เช่น MEDIATE ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกันกับสถาปนิกระดับโลก เพื่อความสวยงามกับทุกสถาปัตยกรรม และกระเบื้องกันลื่นนวัตกรรม MICRO TECH ที่นุ่มนวลเมื่อแห้งแต่จะหยาบขึ้นเมื่อเปียกน้ำด้วยคุณสมบัติ Coating Agent
โดยแสดงลายกระเบื้องและผืนกระเบื้องอย่างชัดเจนเพื่อเปิดให้จินตนาการภาพของ Space ที่ใช้สอยจริงได้ ประกอบกับการวางเส้นทาง (Routing) ให้เดินผ่านห้องต่าง ๆ ตั้งแต่ที่ชั้นหนึ่งที่สามารถมองขึ้นไปชั้นสอง หรือเดินขึ้นบันไดซึ่งเป็นเสมือนไฮไลต์ของ Thematic Pavilion นี้ ไอเดียการออกแบบชวนให้ถึงนึกสถาปัตยกรรมจากซีรีส์ Squid Game
EDL x SHER MAKER
Wider Realm of Material
สร้างพื้นที่ปิดล้อมเชิงประสบการณ์ โดยคำนึงถึงการนำวัสดุแต่ละโมเดลจาก EDL (Supplier) มาใช้อย่างเต็มศักยภาพ ชวนให้มองวัสดุในแง่มุมทางการออกแบบที่หลากหลายและขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น
Waste of Material – EDL APTICO หยิบยืมภาษาและการใช้วัสดุจากกระบวนการตีลังขนส่ง มาเป็นโครงสร้างหลักของ Pavilion ออกแบบให้ไม้โครงสามารถนำกลับไปได้จริง และไม่เกิดความเสียหายจากการจัดแสดง แค่หยิบยืมผลิตภัณฑ์มาวางในแนวโครงสร้างให้เกิดพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่
Ceiling Atmosphere – ศักยภาพสูงสุดของ PANAPLAST คือแสงสามารถลอดผ่านได้ SHER MAKER (Designer) อยากชวนทุกคนมองวัสดุให้กว้างกว่าแค่วัสดุกรุปิดผิว เมื่อนำมาประกอบเป็นระนาบฝ้าเพดานที่ออกแบบแสงได้ จะพบว่าลามิเนตเป็น Raw Material ที่สร้างบรรยากาศทางสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจ
Use Interact – ม้านั่งยาวในพื้นที่ Pavilion ถูกประกอบจากแผ่น COMPACT มีคุณสมบัติที่หนาและรับแรงได้อย่างดี ออกแบบให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถถอดประกอบและต่อขึ้นเองได้ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมระหว่างคนกับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
TOA X ARiA Design Architects
Circle Of Sustainable Life สมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติตาม Concept ของงาน เพื่อให้เกิดการพึ่งพา – อาศัยกันจริงบนพื้นที่จริง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับทาง TOA (Supplier) ที่ต้องการสื่อถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน, นวัตกรรม และการอยู่ร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์ สร้างมุมมองใหม่ของงานออกแบบบูธที่สวยงาม ทันสมัย ผสานความ Innovation ให้เกิด New Experience และ Perception ใหม่ ๆ โดย ARiA Design Architects (Designer) ออกแบบโดยสร้าง Unique Form และการสร้าง Visual Impact ของรูปทรงที่มีผลต่อมุมมองรอบตัวในพื้นที่จัดแสดงทั้ง 2 ส่วน
ผ่านการใช้สี TOA Organic Care โดยใช้เทคโนโลยี Biobased และเป็น ZERO VOC รายเดียวในประเทศไทย และวัสดุที่จะเปิดตัวใหม่อย่าง TOA TILE และยิปซัม TOA ร่วมกันออกแบบเป็นพื้นที่ Thematic Pavilion ที่จะแสดงศักยภาพวัสดุของทาง TOA ได้อย่างกลมกลืน
การสร้างแนว Vertical ตัว T โดยใช้กระเบื้อง TOA มาประกอบในทางตั้ง รวมถึงการใช้แผ่นยิปซัม TOA มาดัดโค้งสร้างรูปทรงตัว O และขาตัว A ทั้งสองด้าน เพื่อแสดงออกถึงความเป็น TOA อย่างแท้จริง