3 (+1 นวัตกรรม) สถาปัตยกรรม ที่พิสูจน์ว่าสถาปนิกก็ทำงาน กับหลัก
ฮวงจุ้ยได้ (อย่างสร้างสรรค์ด้วย)

ภาพจำเกี่ยวกับสถาปนิกผู้ออกแบบสิ่งก่อสร้างและซินแสผู้เชี่ยวชาญความรู้เรื่องฮวงจุ้ยคือความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก เพียงแค่ค้นหาด้วยคำว่าซินแสและสถาปนิกเราจะพบกระทู้พันทิปที่ถามความเห็นว่าผู้คนจะเลือกเชื่ออะไรระหว่างซินแส/หมอดูหรือวิศวกร/สถาปนิก ทวีตที่เรียกสถาปนิกและซินแสว่าคู่อมตะนิรันดร์กาล หรือมีมที่สถาปนิกประสานงานกับซินแสด้วยการสับลูกกระเดือก

แต่หลักทางสถาปัตยกรรมกับหลักการฮวงจุ้ยไม่สามารถสอดคล้องไปด้วยกันได้จริงหรือ? ผลงานการสร้างสรรค์ทั้ง 3 นี้แสดงให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับหลักฮวงจุ้ยสามารถสอดคล้องกันอย่าง “พึ่งพา – อาศัย” กันและกันได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยโดยคงความต้องการอย่างฮวงจุ้ยไว้อยู่ หรือการออกแบบที่จัดการสิ่งไม่ดีตามหลักฮวงจุ้ย เป็นต้น

Nature House — ใช้แนวคิดธรรมชาติ จัดการปัญหาเรื่องมงคล

ตามหลักฮวงจุ้ยแล้ว เมื่อมีตำแหน่งมงคลก็สามารถมีตำแหน่งที่ไม่เป็นมงคลด้วย บ้านที่ออกแบบโดย Junsekino Architect and Design หลังนี้

ด้วยแนวคิดการออกแบบที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมชาติ โดยใช้การปรากฏของ ‘น้ำ’ จึงเป็นน้ำนี่เองที่ทำหน้าที่จัดการทดแทนพื้นที่ที่ไม่เป็นมงคลอีกด้วย

Botanica Khao Yai — หันหน้าท้าแดดจากทิศใต้

ทิศใต้เป็นทิศที่รับความร้อนและแสงแดดมาก จึงไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบอาคารหันหน้าไปยังทิศทางนั้นนัก แต่เมื่อผู้ว่าจ้างและซินแสของเขาต้องการสถาปนิกก็ย่อมออกแบบให้ได้

โบทานิก้า เขาใหญ่ รีสอร์ตสไตล์โมเดิร์นที่ออกแบบโดย Vin Varavarn Architects มีระเบียงกว้างยื่นออกมาด้านหน้าทำหน้าที่ทั้งป้องกันไม่ให้แสงแดดจ้าส่อง และยังสร้างร่มเงาในช่วงบ่ายคล้อย ให้บรรยากาศที่ร่มเย็นโดยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ว่าจ้างและซินแสได้อีกด้วย

V1 House — สวนสำหรับการปิดทิศที่ไม่ดี

เพราะทิศเหนือเป็นดินแดนที่ไม่ดีตามหลักฮวงจุ้ย TNT architects จึงออกแบบบ้านในประเทศเวียดนามแห่งนี้ให้มีสวน “ปิด” ทิศทางนี้เอาไว้ ซึ่งมอบพื้นที่ใช้งานด้านหลังบ้าน สร้างทัศนียภาพที่งดงาม สงบ ผ่อนคลาย เป็นส่วนตัว และป้องกันลมหนาวได้อีกด้วย

นอกจากงานด้านออกแบบและก่อสร้างแล้ว ความร่วมมือระหว่างฮวงจุ้ยและสถาปัตยกรรมยังแสดงให้เห็นในนวัตกรรม อย่างเช่น การศึกษา ‘โปรแกรมวิเคราะห์แบบสถาปัตยกรรมภายในตามหลักฮวงจุ้ย’ โดย ศศิภา พูลบูลย์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาของนักออกแบบภายในที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับฮวงจุ้ยอย่างลึกซึ้ง ให้สามารถทำงานได้โดยประหยัดเวลาในการค้นคว้าข้อมูลฮวงจุ้ย โดยสามารถใช้ในโปรแกรม SketchUp ซึ่งนักออกแบบภายในใช้อยู่แล้วได้เลย

การ “พึ่งพา – อาศัย” หรือ “CO – WITH CREATORS” เป็นแนวคิดหลักในการจัดงานสถาปนิก’65 จากความเชื่อที่ว่าการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างสถาปนิกกับนักสร้างสรรค์อื่น ๆ ไม่ว่าจะต่างภูมิภาคหรือต่างสาขาวิชาจะนำมาสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างยั่งยืน ดังเช่นในตัวอย่างการทำงานของสถาปนิกร่วมกับหลักฮวงจุ้ยของซินแสดังผลงานทั้ง 3 + 1 ข้างต้น

งานสถาปนิก’65 ยังมีนิทรรศการและกิจกรรมที่แสดงการ “พึ่งพา – อาศัย” อีกมาก เช่น การจับคู่ระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์ทั้งหมด 12 คู่จากภูมิภาคต่าง ๆ มาทำงานร่วมกันและจัดแสดงเป็นนิทรรศการ ‘PROFESSIONAL COLLABORATION’ หรือการร่วมมือกันระหว่างนักออกแบบและซัพพลายเออร์ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่จะมาจัดบูธสุดสร้างสรรค์แบบใหม่ในชื่อ ‘Thematic Pavilion’

งานสถาปนิก’65 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 เม.ย. – 1 พ.ค. 65 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำหรับผู้สนใจจองพื้นที่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.ArchitectExpo.com/2022/space-reservation/ หรือ โทร. 02-717-2477 อีเมล [email protected]

Similar Posts