ใครไม่ได้มางาน ไม่ต้องเสียดาย…เก็บภาพบรรยากาศ “ความตื่นตา ตื่นใจ” ในงานสถาปนิก’65 มาฝากกัน

จบไปแล้วสำหรับงานสถาปนิก’65 ภายใต้คอนเซปต์ “CO – WITH CREATORS พึ่งพา – อาศัย” เมื่อวันที่ 26 เมษายน -1 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ในวันนี้เราจึงพาทุกคนมาร่วมเก็บตกกิจกรรม และภาพบรรยากาศโดยรวมของงานตลอด 6 วัน ที่จัดขึ้นเพื่อเปิดมุมมองการทำงานใหม่ ๆ ระหว่างสถาปนิกกับอาชีพอื่นว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ และท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนเช่นนี้ กระแสตอบรับก็ดีกว่าที่คาดคิดไว้มาก

ไฮไลต์สำคัญของปีนี้คือ “Thematic Pavilion” ครั้งแรกของพื้นที่จัดแสดงรูปแบบพิเศษ เทียบเคียงงานดีไซน์ระดับโลก จากความร่วมมือระหว่าง “ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง x ดีไซเนอร์รุ่นใหม่” ได้แก่

VG x PHTAA การตีความรางน้ำฝนและหลังคาไวนิลใหม่ในรูปแบบบ้านทรงไทย

TOA x ARiA Design Architects สื่อเรื่องความยั่งยืนพร้อมโชว์ศักยภาพของวัสดุผ่านพื้นที่แบบ Unique Form และ Visual Impact

EDL x SHER MAKER พื้นที่ปิดล้อมเชิงประสบการณ์จากการนำวัสดุมาใช้แบบใหม่ ๆ

WDC x ACa ถ่ายทอดการอยู่อาศัยในห้องต่าง ๆ มาเป็น Conceptual Space โชว์นวัตกรรมกระเบื้องในชื่อ “The Lord of Tiles” 

โดยพื้นที่ที่คว้ารางวัล “Thematic Pavilion of the Year 2022” ที่ได้คะแนนโหวตมากที่สุดจากผู้เข้าชมงานตลอด 6 วัน คือ WDC x ACa ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมอย่างล้นหลาม

จากแนวคิด “CO-WITH CREATORS พึ่งพา-อาศัย” งานสถาปนิก’65 ยังมี ASA Pavilions ที่นักออกแบบและนักสร้างสรรค์จากหลากสาขาอาชีพ จากภูมิภาคที่แตกต่างกัน มาออกแบบร่วมกันทั้งหมด 12 Pavilions อีกด้วย คือ

  • Co-with COVID pavilion โดย สาริน นิลสนธิ (D KWA Design Studio) X ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ (Patani Artspace) ตอบคำถามเรื่องการอยู่อาศัยและการอยู่ร่วมกันในสถานการณ์โควิด-19 ด้วยท่อแสงและผ้าดำ
  • Co-breathing house (Local innovation pavilion) โดย คำรน สุทธิ (Eco Architect) X จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์ (Joez19) นำเสนอวัสดุพื้นถิ่นต่าง ๆ ในห้องที่ออกแบบผนังสอดคล้องกัน
  • Professional collaboration โดย ปกรณ์ อยู่ดี / วิภาดา อยู่ดี (INLY STUDIO) X ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย (ทะเลจร) โครงสร้างแบบประติมากรรมที่ดึงดูดผู้ชมให้เข้าสู่พื้นที่จัดงาน
  • รังมดแดง (Rang Mod Deang) (ASA Member pavilion) โดย ธรรศ วัฒนาเมธี / อัชฌา สมพงษ์ X ศุภชัย แกล้วทนงค์ แสดงโมเดล 100 ชิ้นจากสำนักงานสถาปนิก 100 แห่ง ผ่านแนวคิดจากรังมดแดง
  • Street Wonder นิทรรศการแสดงผลงานนิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรม (ASA Student and Workshop pavilion) โดย ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร X สร้างสรรค์ ณ สุนทร นำเสนอและเผยแพร่ความรู้ความสามารถของนักศึกษาสถาปัตยกรรม และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตนักศึกษาในรูปแบบ Street Vendor
  • The Hijab (ASA Experimental design) โดย สาโรช พระวงค์ X เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา จัดแสดง “ASA Experimental design” ผ่านโครงสร้างที่หุ้มด้วยผ้าดำ
  • กำแพงแห่งปัญญา (Wall of Wisdom) ASA Architectural design award 2022 pavilion (นิทรรศการรางวัลการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2565) โดย ธนชาติ สุขสวาสดิ์ / กานต์ คำแหง X กาญจนา ชนาเทพาพร จัดแสดงผลงานรางวัลการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นและนิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมประจำปี 2565 โดยดึงลักษณะจากธรรมชาติมาออกแบบ
  • ชาวนาและช่างก่อสร้าง (Farmer and Builder (นิทรรศการประกวดแบบภาครัฐ) โดย ซัลมาน มูเก็ม X รติกร ตงศิริ เล่าเรื่องชาวนาไทอีสานผ่านเมล็ดข้าว
  • หมอบ้านอาษา โดย จักรพันธุ์ บุษสาย / วาสิฏฐี ลาธุลี X วีรดา ศิริพงษ์ เปิดให้คำปรึกษาเรื่องบ้านและการก่อสร้าง ภายในประติมากรรมไม้อัด OSB
  • ASA SHOP PLAYBRARY (ASA Shop) โดย ชารีฟ ลอนา x สเริงรงค์ วงษ์สวรรค์ พื้นที่สำหรับขายผลิตภัณฑ์ซึ่งจัดสรรพื้นที่ออก เป็น 3 ส่วน เพื่อตอบสนองต่อฟังก์ชั่นที่ต่างกัน ผ่านโครงสร้างชั่วคราวผนังเบาโครง C-LINE, ผ้าใบหุ้ม, วัสดุพื้น Checker plate, แผ่นกันลื่น และกระเบื้องยาง
  • ‘รส สัมผัส’ (Touchless) ASA Club โดย ปรัชญา สุขแก้ว X สุเมธ ยอดแก้ว จุดนัดพบ พักคอย และเป็นพื้นที่พักผ่อน โดดเด่นด้วยวัสดุกระดาษลัง
  • ขวัญ (เอย ขวัญ มา) (Spiral) ลานกิจกรรม / Main stage โดย ภูริทัต ชลประทิน X ปณชัย ชัยจิรรัตน์ / ปุญญิศา ศิลปรัศมี พื้นที่อเนกประสงค์เพื่อรองรับกิจกรรม โดยมีวัสดุหลักคือเส้นฝ้ายสี

สำหรับงานสัมมนาในปีนี้ มีไฮไลต์เด็ดคือ ASA INTERNATIONAL FORUM 2022 ที่ได้รับเกียรติจากจากสถาปนิกและนักออกแบบชั้นนำระดับโลกมาร่วมบรรยายกันทั้งแบบ On-site และ Online ภายใต้แนวคิด ‘CO-WITH CREATORS’ โดยมีวิทยากรและหัวข้อการบรรยายดังนี้

  • Aaron Betsky หัวข้อ Just Don’t Build: Reimagine, Rethink, Reuse.
  • Samuel Barclay หัวข้อ The Craft of Collaboration
  • Fala Atelier หัวข้อ Gloriously Repeating

นอกจากนี้ยังมีเวที Inno – Corner ที่สถาปนิกและผู้จัดแสดงสินค้าต่างยกขบวนกันมาให้ความรู้และเล่าประสบการณ์กันอย่างคับคั่ง เช่น

  • “Pattern of the Earth, The Natural Beauty of Stone Works” โดย พชรพรรณ รัตนานคร (PAVA) และ คุณ Tonee Santos (Compac, Spain) จาก Pinklaomarble 
  • “อุปสรรคของการใช้ไม้ในการออกแบบ” โดย คุณ ปาณะพงษ์ ซอปิติพร Assistance Sales Manager และคุณ อัครพล ชมหมวก Marketing Manager จาก TPS Garden
  • “โคเวย์… มาเคลียร์” ตอบทุกข้อสงสัย อะไรคือระบบ Subscribe โดย COWAY
  • “Thai Cement in Action for Thailand Carbon Neutrality” โดย ดร. วันเฉลิม ชโลธร
  • “Thailand bamboo นวัตกรรมไม้ไผ่ไร้มอด” โดยคุณธนา ทิพย์เจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิมธา จำกัด
  • “เจาะลึกทิศทางและอนาคตของบ้านอัจฉริยะ” โดย คุณวุฒิชัย เตมีรักษ์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ฮาตาริ คอนเน็คท์ จำกัด

งานนี้ได้รับการตอบรับจากผู้แสดงสินค้ามากถึง  500 กว่าราย เต็มพื้นที่ของ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ โดยมีหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่หลากหลาย เริ่มต้นที่

SCG Pavilion การกลับมาครั้งยิ่งใหญ่ของ SCG บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด “SCG for Smart Living, Smart City”

ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ: Serge Ferrari, CASALI, WILO และ JXK เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวครั้งแรก: Solar D, SCG, COWAY, Mitsubishi และ IQAir เป็นต้น

นวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์: Solartron, technology Store, HaCO และ Uni Green เป็นต้น

นวัตกรรมไฟส่องสว่าง: Unilamp, Quill Lighting, Lamptitude และ IGuzzini เป็นต้น

ดีไซน์กระเบื้องแปลกใหม่: Duragres, VECERA, KENZAI, COTTO, BEZEN และ WDC เป็นต้น

กองทัพไม้แท้และไม้เทียม: Conwood, Wooden, TS-Teak, Lvsenwood, และ CHAMPACA เป็นต้น

พื้นที่ศิลปะ: Muangmol, Surak, PON De Art และ The Artist House เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ครัวคุณภาพชั้นนำ: Rinnai และ Hooth เป็นต้น

นวัตกรรมสีสุดล้ำจากเหล่าแบรนด์ดัง: Beger, TOA และ Jorkay เป็นต้น

เทคโนโลยีเอาใจสถาปนิกและวิศวกร: HP, CANON, EPSON, FASTINSPECT และ zwcad เป็นต้น

สุขภัณฑ์หรูคู่บ้าน : Cristina, Coway และ COTTO เป็นต้น

เทคโนโลยีสมาร์ตโฮม: Maxwell, SCG และ Solar D เป็นต้น

เครื่องใช้ไฟฟ้า: MAKOTO, Shimono, All ABout BOT, และ beko

เอาใจคนรักสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์ Ergonomic และเครื่องนวด: AMAXS, RESTER, R-Cool, Workscape และ Ergotrend เป็นต้น

อุปกรณ์ก่อสร้างเอาใจเหล่าช่างฝีมือดี: MAKITA, Black&Decker และ Milwaukee เป็นต้น

วัสดุปิดผิวจากแบรนด์ชั้นนำ: Greenlam, Formica, LSX, Wilsonart, EDL, TAK, BRT, Footstep, มินิมะ เฮ้าส์, Inalco, BFM Laminates และ Total Elements เป็นต้น

 – ผนังและหลังคา: VIVA Board, Trippo, Hybrid Board, PASAYA, RICA, VG และ Far East เป็นต้น

นวัตกรรมน้ำและสระว่ายน้ำ: J.D. Pools, COWAY, Mazuma, และ Water Pure เป็นต้น

เคมีภัณฑ์ปกป้องบ้าน: CASALI ABM, MaxFloor เป็นต้น

ประตูและหน้าต่างดีไซน์ทันสมัยไม่ตกเทรนด์: TOSTEM, Glasten, AB&W, Modern Galss, Aluzat และ ORM Aluminuim เป็นต้น

บริการรับออกแบบและก่อสร้างบ้าน: Master Plan 101, The Emperor House, Landy Home, Royal House, Wide House, Built to Build, SEACON และ AWII House เป็นต้น

แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านที่เข้าได้กับทุกสไตล์ที่พักอาศัย: About Home, YOTHAKA, Korakot BaanChaan, Perfect Furniture, Into the woods และ Pioneer เป็นต้น

ไอเดียออกแบบพื้นที่ Landscape : IS delight, Madam Khajee, AtSiam และ Olive De Casa เป็นต้น

ลิฟต์บ้านเพื่อผู้สูงวัยและคนในครอบครัว: TKE, AMATA Lift, Cibes, Dtruss และ ARITCO เป็นต้น

ปกป้องบ้านให้ปลอดภัยด้วยนวัตกรรมเกราะป้องกันอันดับหนึ่ง: VECO, IsOn, IDENMATIC, KRIX, และ Great Lock เป็นต้น

DesignerHub Pavilion: พื้นที่จัดแสดงผลงานออกแบบทุกสาขาและบริการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญให้สาขาวิชาชีพต่าง ๆ กับผู้ที่สนใจใช้บริการออกแบบ โดยมีทั้งออกแบบบ้าน ออกแบบภายใน ออกแบบ Landscape ออกแบบร้านกาแฟ ออกแบบโรงแรม ออกแบบโลโก้ และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นพื้นที่รวบรวมนักออกแบบมากที่สุดของงานปีนี้

กิจกรรม pre-register ลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมงานก็มีสิทธิ์ลุ้นของรางวัลเพียบ!

นอกจากนี้ยังมีเสียงจากผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตรงกลุ่มเป้าหมายและเกินคาดสุด ๆ
อ่านเพิ่มเติม CLICK

สำหรับใครที่พลาดโอกาสในปีนี้ เรายังมีการแสดงผลิตภัณฑ์ออนไลน์อย่าง Digital Showroom เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจ รวมถึงบูธต่าง ๆ ในรูปแบบ Virtual ลอง CLICK เพื่อเข้าไปชมได้เลย

ส่วนงานปีหน้าจะมีไฮไลต์พิเศษ หรือคอนเซปต์งานจะเป็นอะไร ก็ต้องรอติดตามกันต่อไป! พบกันปีหน้า “สถาปนิก’66” 25 – 30 เมษายน 2566
สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://architectexpo.com/ และทาง FACEBOOK งานสถาปนิก : ASA EXPO

Similar Posts