เจาะลึก Thematic Pavilion ไฮไลต์งานสถาปนิก’67

       ภายในงานสถาปนิก’67 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน  มาร่วมเจาะลึกไฮไลต์เด่น อย่าง Thematic Pavilion ที่ว่าด้วยพื้นที่พิเศษในความร่วมมือกันระหว่างแบรนด์ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้างและสถาปนิก ภายใต้คอนเซปต์ที่สะท้อนผ่านรูปแบบพื้นที่การจัดแสดง สืบเนื่องจากงานแถลงข่าวการจัดงานสถาปนิก’67  เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา นอกจากการอัปเดตความคืบหน้าของการจัดงานแล้ว มาเจาะลึกข้อมูลและคอนเซปต์ของ Thematic Pavilion ได้แก่ S-ONE x HAS design and research และ Wilsonart x AICA x pbm

S-ONE x HAS design and research: ถ้ำอะลูมิเนียม S-ONE (S-ONE Aluminum Grotto)

      ภายใต้การจับมือกันระหว่าง S-ONE กับ HAS design and research สตูดิโอสถาปนิก ที่ถ่ายทอดแนวคิดและตกผลึกเป็นคอนเซปต์ ‘Complete the Future’ บนพื้นที่กว่า 180 ตารางเมตร  จากปากคำของคุณศรันย์ โรจนาภรณ์  จากแบรนด์ KIN และคุณเจอร์รี่ หง (Jenchieh Hung) กับคุณกุลธิดา ทรงกิตติภักดี ผู้ร่วมก่อตั้ง HAS design and research  

     เมื่อพูดถึง Thematic Pavilion แล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือ วัสดุที่จะเป็นวัสดุหลักภายในพาวิลเลียน คือแบรนด์ระแนงลูมิเนียม KIN ภายใต้บริษัท S-ONE ก่อนที่คุณศรันย์จะไขข้อสงสัยถึงความแตกต่างที่ทำให้เลือก KIN เป็นตัวชูโรงในพื้นที่ Thematic ว่า 

“แบรนด์ KIN ผลิตมาเพื่องานตกแต่งทั้งภายในและภายนอก ซึ่งจริง ๆ เมื่อพูดถึงงานอะลูมิเนียม ส่วนใหญ่กจะนึกถึงงานหน้าต่าง บ้าน แต่ KIN สามารถใช้ในงานตกแต่งได้ งานอะลูมิเนียม FAÇADE ทั้งในและนอก”

     เพิ่มความพิเศษไปอีกขั้นด้วยการชุบสีแชมเปญ ที่มีความเรียบหรูแบบที่ไม่เคยปรากฏในอะลูมิเนียมทั่วไป เพราะอะลูมิเนียมของ KIN นั้นสามารถชุบสีได้หลากหลายสีสันตามต้องการ โดยแบรนด์ใช้นวัตกรรมชุบสีภายในอะลูมิเนียมแทนที่การเคลือบสีภายนอก ส่งผลให้คงทน และสามารถใช้งานได้ในระยะยาว เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย โดยถ้ำอะลูมิเนียม S-ONE ประกอบขึ้นมาจากอะลูมิเนียมกว่า 10,000 ชิ้น

     จากคอนเซปต์ไอเดีย ‘Complete the Future’ ต่อยอดออกมาเป็นดีไซน์ของ Pavilion ที่มีความแตกต่างและดึงเอาลักษณะข้อเด่นของอะลูมิเนียมมาตีความ สร้างความแตกต่างจากเดิม แต่ยังคงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ไว้อย่างเหนียวแน่น โดย HAS เริ่มต้นที่แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ซึ่งต่อมากลายเป็นที่มาของชื่อ Thematic Pavilion

“เราต้องการให้ผู้คนรู้สึกถึงความเป็นถ้ำ ความเป็นธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นและเข้ามาได้อย่างไรในชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อีกทั้งยังเกิดจากวัสดุทางอุตสาหกรรม ทำให้ Contrast ระหว่างความเป็นอุตสาหกรรมและความเป็นธรรมชาติ” คุณกุลธิดากล่าว

     นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายในการหยิบอะลูมิเนียม ที่มีรูปลักษณ์แข็งแรง และคงทน มาทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่อ้อนช้อยและพลิ้วไหว ตามที่คุณเจอร์รี่ หง ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า

 “ถ้ำอะลูมิเนียม S-ONE ไม่ได้เป็นเพียง Pavilion เท่านั้น แต่ยังสร้างบางอย่างอีกด้วย ฉะนั้นถ้ำอะลูมิเนียมS-ONE นี้ ไม่ได้สร้างมาเพื่อเติมเต็ม S-ONE อย่างเดียว แต่ยังเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างธรรมชาติและเชื่อมต่อกับงานสถาปนิก”

     เยี่ยมชมถ้ำอะลูมิเนียม S-ONE (S-ONE Aluminum Grotto)  และเพลิดเพลินไปกับสถาปัตยกรรมที่รวมอะลูมิเนียมเข้ากับธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบที่บูธ S-ONE หมายเลขบูธ TP-A1

Wilsonart x AICA x pbm: Laminates and Engineered Surface

     เสริมสร้างความยั่งยืนผ่านการออกแบบด้วยคอนเซปต์จาก Wilsonart x AICA อย่าง Imagination& Sustainability บนพื้นที่การจัดแสดง 180 ตารางเมตร ร่วมขุดลึกไปถึงแรงบันดาลใจและที่มาของ Thematic Pavilion ว่าสอดคล้องและเชื่อมต่อกับ Sustainability อย่างไร ผ่านคุณภาสกร อัศวรุจานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท วิลสันอาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด และคุณกังวานสิริ เตชะวณิช studio director กับคุณจารุพัฒน์ วิจิตร์ตราภัทร์ Senior Designer จาก pbm

      จากลามิเนต 514 แผ่น ที่มาพร้อมสีสันและลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละแผ่น ผสมผสานเข้ากับแรงบันดาลใจระหว่างความสัมพันธ์ของวัสดุและธรรมชาติ และ design core value ทั้ง 3 ประเด็น คือ Minimizing waste,  Simplicity Construction Methodology และ Key Visual ซึ่ง core value นั้นตรงกับความต้องการของทั้ง Wilsonart x AICA และ pbm ที่ต้องการรังสรรผลงานที่สร้างคุณค่า เกิดเป็นแนวความคิดอย่าง ‘CONNEX’ ที่ทาง pbm ตีความออกมาผ่านการเชื่อมโยงระหว่าง Innovation, Nature และ People

“ภาพรวมของ Thematic Pavilion คือการหลอมรวม การหมุนเวียนของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ผู้คน(People) ทั้งสายน้ำ ภูเขา ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ทั้งหมดนี้คือ Key Visual หลักที่ pbm นำมาออกแบบ” คุณจารุพัฒน์กล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ธรรมชาติ(Nature) กับผู้คน(People) ซึ่งการเชื่อมต่อของ นวัตกรรม(Innovation) เข้ากับผู้คน(people) นั้น ทาง pbm ได้ขยายความดังนี้

“Wilsonart มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นลามิเนตโปร่งแสง และ pbm นำมาเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี interactive lighting sensor ซึ่งสามารถดึงดูดผู้คนได้”

     จะสังเกตได้ว่าการทั้ง Innovation และ Nature ได้ถูกนำกลับมาเชื่อมโยงกับผู้คน (People) อยู่เสมอ ในส่วนของพื้นที่จัดแสดงถูกแบ่งเป็น 2 โซน คือ Experience Space และ Showcase Space ต่อเนื่องจากแนวคิดซึ่งสอดคล้องกับความยั่งยืนที่เป็นหลักที่ pbm และ Wilsonart คำนึง และเแผ่นลามิเนตโปร่งแสงที่นำมาใช้ในพื้นที่การจัดแสดง Thematic Pavilion นั้นสามารถนำกลับไปใช้ต่อได้ เพื่อลดขยะที่จะเกิดขึ้นหลังจบงาน

     สัมผัสเทคโนโลยีที่ผสมผสานเข้ากับแผ่นลามิเนตโปร่งแสงของ Wilsonart x AICA และแรงบันดาลใจจากธรรมชาติเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนด้วยคอนเซปต์ Imagination & Sustainability ที่บูธ Wilsonart x AICA หมายเลขบูธ TP-A2

     สำรวจเทรนด์และเยี่ยมชมไฮไลต์ Thematic Pavilion ในงานสถาปนิก’67 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี