มอบคุณค่าให้กับเศษวัสดุ สร้างจุดยืนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กับ Panel Plus แบรนด์วัสดุทดแทนไม้ในงานสถาปนิก’66

ก่อนเข้าสู่ประเด็นหลักของบทความ เชื่อว่านักอ่านหลายท่านในที่นี้คงจะรู้จักกับวัสดุก่อสร้างจำพวกไม้กันมาบ้างพอสมควรแล้ว ฉะนั้นผู้เขียนจึงอยากจะเชิญชวนนักอ่านมาท่องโลกของวัสดุก่อสร้างในอีกมุมหนึ่ง มุมที่จะเจาะลึกไปถึงเบื้องหลังแบรนด์นวัตกรรมจากวัสดุทดแทนไม้อย่าง Panel Plus กันอย่างใกล้ชิดถึงออฟฟิศ โดยการนั่งโต้ตอบบทสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค และสำรวจทุกซอกหลืบของความสงสัยของวัสดุกับ คุณบุญญา ศิริศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ บริษัท พาเนล พลัส จำกัด

จากผู้ผลิตน้ำตาลมาสู่ผู้ผลิตวัสดุทดแทนไม้

ก่อนจะไปตะลุยกับบทสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจาก Panel Plus แบรนด์ผลิตภัณฑ์วัสดุทดแทนไม้ ก็ต้องเกริ่นถึงชื่อ “มิตรผล” ชื่อที่มักปรากฏอยู่บนบรรจุภัณฑ์ของน้ำตาลทรายที่เราคุ้นตากันอยู่บ่อย ๆ หรือจะเป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตรอย่างเอทานอล ซึ่งนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า ไวน์ และเบียร์ ยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง และใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงไปจนถึงผู้ผลิตโรงไฟฟ้าชีวมวล

มาจนถึงตรงนี้เชื่อว่าผู้อ่านคงจะสงสัยว่าทำไมเราต้องเกริ่นถึงมิตรผล แล้ว Panel Plus กับ มิตรผล เกี่ยวข้องกันในแง่ใด

ในการค้นหาคำตอบผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองจินตนาการถึงกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อยที่มักเกิดขยะจำพวกชานอ้อยหลงเหลืออยู่ แล้วถูกกำจัดทิ้งโดยการเผาซึ่งสร้างมลพิษให้กับอากาศ จุดกำเนิดของแบรนด์ Panel Plus จึงมาจากการใช้ขยะจากกระบวนการผลิตน้ำตาล ประกอบกับหากย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้วยังไม่มีการใช้เฟอร์นิเจอร์ในเมืองไทยมากนัก มิตรผลเลยคิดหาวิธีในการแปรรูปขยะเหล่านี้ให้เป็นวัสดุทดแทนไม้ในราคาที่จับต้องได้ กระทั่งกลายมาเป็นจุดกำเนิดของแบรนด์ “Panel Plus” จนถึงทุกวันนี้

“ถ้าเราแปรรูปขยะเหล่านี้เป็นวัสดุทดแทนไม้ในราคาที่จับต้องได้ แล้วผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ในราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ คุณภาพชีวิตของคนไทยก็จะดีขึ้น” คุณบุญญา กล่าว

ภายหลังทางแบรนด์ก็ได้ขยายฐานการผลิตสินค้าและเปลี่ยนมาใช้ไม้ยางเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตวัสดุทดแทนไม้ประเภท Particle Board และ MDF หรือ Medium-Density Fiberboard

“ถ้าเราแปรรูปขยะเหล่านี้เป็นวัสดุทดแทนไม้ในราคาที่จับต้องได้
แล้วผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ในราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
คุณภาพชีวิตของคนไทยก็จะดีขึ้น”

Interior Solution ที่ตอบโจทย์นักออกแบบและช่างไม้

เมื่อเราพอจะมองเห็นภาพคร่าว ๆ ของการเกิดขึ้นของ Panel Plus แล้ว มาในคำถามนี้ผู้เขียนอยากจะพุ่งเป้ามาที่การพัฒนาสินค้าของทางแบรนด์ไปจนถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่เจาะลึกไปในเรื่องของผลิตภัณฑ์

“ตามหลักบริษัทแม่หรือมิตรผลที่จะเน้นเรื่อง Customer Centric ฉะนั้น Panel Plus จึงยึดประเด็นนี้มาเป็นหลักในการทำงาน ส่วนเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเรา คือ ทำอย่างไรให้คนไทยสามารถเข้าถึงงานออกแบบภายในได้อย่างทั่วถึง แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของเราจึงเน้นไปที่ Interior Design เพราะเราอยากสร้าง Decorative Solution ที่ครบทุกฟังก์ชันให้กับคนไทยและคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ในขณะเดียวกันการมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อกลุ่มเป้าหมายหลักอย่างนักออกแบบและช่างไม้ก็เป็นอีกหนึ่งจุดยืนของ Panel Plus ซึ่งสัมพันธ์กับการสร้างความสวยงามให้กับวัสดุ การดึงเอาเทรนด์โลกมาสู่ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างทางเลือกให้กับนักออกแบบในการสร้างสรรค์ผลงานที่รองรับไลฟ์สไตล์ของคนไทย ทั้งนี้ช่างไม้ที่เป็นอีกหนึ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมายก็ได้ผลักดันให้ทางแบรนด์สร้าง Service Solution ที่ควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายของช่างไม้ในแง่ของกระบวนทำงานและ Pain Point ต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

หลังจากที่เราได้จับใจความในประเด็น Interior Solution ซึ่งตอบโจทย์นักออกแบบและช่างไม้ของ Panel Plus ไปกันแล้ว คุณบุญญา จึงพาเรามาเคาะที่เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เหมาะกับการตกแต่งภายใน “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เหมาะกับงาน Interior เราเริ่มจาก 2 แนวคิดหลัก ๆ คือ เรื่องเทรนด์และการ Co-Creation กับกลุ่มดีไซเนอร์ โดยในส่วนของเทรนด์ เรามีทีมทำ Research เกี่ยวกับเทรนด์กระแสหลัก จากนั้นจึงมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับคนเอเชียเพื่อผสมผสานกับเทรนด์ของดีไซเนอร์แต่ละคน” คุณบุญญา กล่าว

ปลอดภัยต่อทุกชีวิต กรีนในทุกระบวนการ

การเลือกใช้ขยะทางการเกษตรทั้งไม้และรากจากต้นยางที่ไม่สามารถนำไปใช้งานต่อมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต เพื่อลดการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนออกไซด์ให้กับโลก เมื่อรวมกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Panel Plus เช่น นวัตกรรม Air Safety Glue ที่นอกจากมีคุณสมบัติทำให้ไม้สามารถยึดติดเกาะกัน ยังมีมาตรฐานการควบคุมการปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระเหยออกมาจากไม้ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามมาตรฐานยุโรป (E1) ทำให้ Panel Plus กลายเป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อทั้งยังมาในราคาที่จับต้องได้

Panel Design Lab: ระบบ Modular ที่ออกแบบมาเพื่อ
งานเฟอร์นิเจอร์ Built-In

ในกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ Built-In ที่ต้องใช้เวลานานตั้งแต่การดีไซน์ การประกอบ และการตัด อีกทั้งยังสร้างขยะและฝุ่นซึ่งเป็นสิ่งช่างไม้ได้รับผลกระทบอยู่บ่อยครั้ง Panel Plus จึงแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการเปิดตัวเทคโนโลยีที่เรียกว่า Panel Design Lab ซึ่งเป็นระบบ Modular ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการทำเฟอร์นิเจอร์ Customize โดยใช้เวลาในการผลิตเพียงภายใน 14 วัน นอกจากนี้ คุณบุญญา ยังกล่าวเสริมถึงจุดประสงค์ของการคิดค้นเทคโนโลยีนี้ว่า

“เทคโนโลยีตัวนี้สามารถช่วยให้ช่างไม้ในประเทศไทยไม่ต้องเผชิญกับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ที่หน้างานอีกต่อไป อีกทั้งยังควบคุมต้นทุนและเวลาได้ ระบบ Modular มีจุดเด่นในเรื่องของการปราศจากกลิ่นกาว ไม่มีเศษฝุ่น ขี้เลื่อย เพราะเฟอร์นิเจอร์ทั้งเซ็ทเกิดจากการประกอบของแผ่นไม้”

3 โซลูชั่นที่พร้อมมาเปิดตัวในงานสถาปนิก’66

สำหรับงานสถาปนิก’66 ที่จะจัดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ขอบอกเลยว่า Panel Plus เตรียมขนนวัตกรรมมาเปิดตัวแบบจัดเต็มอย่างแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้นใครที่ชื่นชอบในงาน Interior Design บูธของ Panel Plus เป็นอีกหนึ่งจุดหมายไฮไลท์ที่ควรลิสต์ไว้ในจุดหมายที่ควรแวะเมื่อมางาน เพราะโซลูชั่น 3 เลเวลที่เราจะแง้มให้อ่านต่อไปนี้นั้นคุ้มค่าที่จะเข้าไปเยือนบูธอย่างแน่นอน

Level 1 ไม้บอร์ดที่ตอบโจทย์นักดีไซน์ เป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับดีไซเนอร์ที่มองหาผลิตภัณฑ์ไม้บอร์ดที่ให้สีสัน ลวดลาย และ Texture ซึ่งมีความหลากหลายและเข้ากับเทรนด์งานดีไซน์ในปัจจุบัน
Level 2 บริการ Cut to Size เพื่อเอาใจช่างไม้และตอบโจทย์ในทุกไซซ์
Level 3 Panel Design Lab โซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไข Pain Point ของช่างไม้โดยเฉพาะ

นอกจากเหนือจากนี้ทางแบรนด์ยังมีการเปิดตัวสีใหม่ที่มาพร้อมแต่งแต้มสีสันให้กับการใช้ชีวิตหลังจากการเผชิญกับปัญหาโรคระบาด ดังที่ คุณบุญญา ได้ให้ข้อมูลกับเราว่า “ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เราจะเปิดตัวเป็นคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า Revival ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่อยากให้ผู้คนกลับเข้าสู่รูปแบบการชีวิตที่สดใส สนุกสนาน”


มาเติมไอเดียแต่งบ้านใหม่ ๆ มาอัปเดตเทรนด์ดีไซน์
เพื่อความยั่งยืนในงานสถาปนิก’66

การใช้ชีวิตอยู่กับบ้านเป็นเวลานานในช่วงโรคระบาดอาจทำให้ไอเดียเหี่ยวเฉา ไม่กระเตื้อง Panel Plus อยากจะเชิญชวนให้ผู้ที่หลงใหลในงานออกแบบและเทคโนโลยีมาสัมผัสนวัตกรรมจากวัสดุทดแทนไม้ที่ช่วยค้ำยันให้โลกหมุนไปพร้อมกับความยั่งยืนที่บูธหมายเลข F414 ในงานสถาปนิก’66 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

Similar Posts