ใครไม่ได้มางาน ไม่ต้องเสียดาย…เก็บภาพบรรยากาศ “ความตื่นตา ตื่นใจ” ในงานสถาปนิก’65 มาฝากกัน
จบไปแล้วสำหรับงานสถาปนิก’65 ภายใต้คอนเซปต์ “CO – WITH CREATORS พึ่งพา – อาศัย” เมื่อวันที่ 26 เมษายน -1 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ในวันนี้เราจึงพาทุกคนมาร่วมเก็บตกกิจกรรม และภาพบรรยากาศโดยรวมของงานตลอด 6 วัน ที่จัดขึ้นเพื่อเปิดมุมมองการทำงานใหม่ ๆ ระหว่างสถาปนิกกับอาชีพอื่นว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ และท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนเช่นนี้ กระแสตอบรับก็ดีกว่าที่คาดคิดไว้มาก
ไฮไลต์สำคัญของปีนี้คือ “Thematic Pavilion” ครั้งแรกของพื้นที่จัดแสดงรูปแบบพิเศษ เทียบเคียงงานดีไซน์ระดับโลก จากความร่วมมือระหว่าง “ซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง x ดีไซเนอร์รุ่นใหม่” ได้แก่
– VG x PHTAA การตีความรางน้ำฝนและหลังคาไวนิลใหม่ในรูปแบบบ้านทรงไทย
– TOA x ARiA Design Architects สื่อเรื่องความยั่งยืนพร้อมโชว์ศักยภาพของวัสดุผ่านพื้นที่แบบ Unique Form และ Visual Impact
– EDL x SHER MAKER พื้นที่ปิดล้อมเชิงประสบการณ์จากการนำวัสดุมาใช้แบบใหม่ ๆ
– WDC x ACa ถ่ายทอดการอยู่อาศัยในห้องต่าง ๆ มาเป็น Conceptual Space โชว์นวัตกรรมกระเบื้องในชื่อ “The Lord of Tiles”
โดยพื้นที่ที่คว้ารางวัล “Thematic Pavilion of the Year 2022” ที่ได้คะแนนโหวตมากที่สุดจากผู้เข้าชมงานตลอด 6 วัน คือ WDC x ACa ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมอย่างล้นหลาม
จากแนวคิด “CO-WITH CREATORS พึ่งพา-อาศัย” งานสถาปนิก’65 ยังมี ASA Pavilions ที่นักออกแบบและนักสร้างสรรค์จากหลากสาขาอาชีพ จากภูมิภาคที่แตกต่างกัน มาออกแบบร่วมกันทั้งหมด 12 Pavilions อีกด้วย คือ
- Co-with COVID pavilion โดย สาริน นิลสนธิ (D KWA Design Studio) X ผศ.เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ (Patani Artspace) ตอบคำถามเรื่องการอยู่อาศัยและการอยู่ร่วมกันในสถานการณ์โควิด-19 ด้วยท่อแสงและผ้าดำ
- Co-breathing house (Local innovation pavilion) โดย คำรน สุทธิ (Eco Architect) X จีรศักดิ์ พานเพียรศิลป์ (Joez19) นำเสนอวัสดุพื้นถิ่นต่าง ๆ ในห้องที่ออกแบบผนังสอดคล้องกัน
- Professional collaboration โดย ปกรณ์ อยู่ดี / วิภาดา อยู่ดี (INLY STUDIO) X ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย (ทะเลจร) โครงสร้างแบบประติมากรรมที่ดึงดูดผู้ชมให้เข้าสู่พื้นที่จัดงาน
- รังมดแดง (Rang Mod Deang) (ASA Member pavilion) โดย ธรรศ วัฒนาเมธี / อัชฌา สมพงษ์ X ศุภชัย แกล้วทนงค์ แสดงโมเดล 100 ชิ้นจากสำนักงานสถาปนิก 100 แห่ง ผ่านแนวคิดจากรังมดแดง
- Street Wonder นิทรรศการแสดงผลงานนิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรม (ASA Student and Workshop pavilion) โดย ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร X สร้างสรรค์ ณ สุนทร นำเสนอและเผยแพร่ความรู้ความสามารถของนักศึกษาสถาปัตยกรรม และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตนักศึกษาในรูปแบบ Street Vendor
- The Hijab (ASA Experimental design) โดย สาโรช พระวงค์ X เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา จัดแสดง “ASA Experimental design” ผ่านโครงสร้างที่หุ้มด้วยผ้าดำ
- กำแพงแห่งปัญญา (Wall of Wisdom) ASA Architectural design award 2022 pavilion (นิทรรศการรางวัลการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2565) โดย ธนชาติ สุขสวาสดิ์ / กานต์ คำแหง X กาญจนา ชนาเทพาพร จัดแสดงผลงานรางวัลการออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่นและนิทรรศการรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมประจำปี 2565 โดยดึงลักษณะจากธรรมชาติมาออกแบบ
- ชาวนาและช่างก่อสร้าง (Farmer and Builder (นิทรรศการประกวดแบบภาครัฐ) โดย ซัลมาน มูเก็ม X รติกร ตงศิริ เล่าเรื่องชาวนาไทอีสานผ่านเมล็ดข้าว
- หมอบ้านอาษา โดย จักรพันธุ์ บุษสาย / วาสิฏฐี ลาธุลี X วีรดา ศิริพงษ์ เปิดให้คำปรึกษาเรื่องบ้านและการก่อสร้าง ภายในประติมากรรมไม้อัด OSB
- ASA SHOP PLAYBRARY (ASA Shop) โดย ชารีฟ ลอนา x สเริงรงค์ วงษ์สวรรค์ พื้นที่สำหรับขายผลิตภัณฑ์ซึ่งจัดสรรพื้นที่ออก เป็น 3 ส่วน เพื่อตอบสนองต่อฟังก์ชั่นที่ต่างกัน ผ่านโครงสร้างชั่วคราวผนังเบาโครง C-LINE, ผ้าใบหุ้ม, วัสดุพื้น Checker plate, แผ่นกันลื่น และกระเบื้องยาง
- ‘รส สัมผัส’ (Touchless) ASA Club โดย ปรัชญา สุขแก้ว X สุเมธ ยอดแก้ว จุดนัดพบ พักคอย และเป็นพื้นที่พักผ่อน โดดเด่นด้วยวัสดุกระดาษลัง
- ขวัญ (เอย ขวัญ มา) (Spiral) ลานกิจกรรม / Main stage โดย ภูริทัต ชลประทิน X ปณชัย ชัยจิรรัตน์ / ปุญญิศา ศิลปรัศมี พื้นที่อเนกประสงค์เพื่อรองรับกิจกรรม โดยมีวัสดุหลักคือเส้นฝ้ายสี
สำหรับงานสัมมนาในปีนี้ มีไฮไลต์เด็ดคือ ASA INTERNATIONAL FORUM 2022 ที่ได้รับเกียรติจากจากสถาปนิกและนักออกแบบชั้นนำระดับโลกมาร่วมบรรยายกันทั้งแบบ On-site และ Online ภายใต้แนวคิด ‘CO-WITH CREATORS’ โดยมีวิทยากรและหัวข้อการบรรยายดังนี้
- Aaron Betsky หัวข้อ Just Don’t Build: Reimagine, Rethink, Reuse.
- Samuel Barclay หัวข้อ The Craft of Collaboration
- Fala Atelier หัวข้อ Gloriously Repeating
นอกจากนี้ยังมีเวที Inno – Corner ที่สถาปนิกและผู้จัดแสดงสินค้าต่างยกขบวนกันมาให้ความรู้และเล่าประสบการณ์กันอย่างคับคั่ง เช่น
- “Pattern of the Earth, The Natural Beauty of Stone Works” โดย พชรพรรณ รัตนานคร (PAVA) และ คุณ Tonee Santos (Compac, Spain) จาก Pinklaomarble
- “อุปสรรคของการใช้ไม้ในการออกแบบ” โดย คุณ ปาณะพงษ์ ซอปิติพร Assistance Sales Manager และคุณ อัครพล ชมหมวก Marketing Manager จาก TPS Garden
- “โคเวย์… มาเคลียร์” ตอบทุกข้อสงสัย อะไรคือระบบ Subscribe โดย COWAY
- “Thai Cement in Action for Thailand Carbon Neutrality” โดย ดร. วันเฉลิม ชโลธร
- “Thailand bamboo นวัตกรรมไม้ไผ่ไร้มอด” โดยคุณธนา ทิพย์เจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิมธา จำกัด
- “เจาะลึกทิศทางและอนาคตของบ้านอัจฉริยะ” โดย คุณวุฒิชัย เตมีรักษ์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ฮาตาริ คอนเน็คท์ จำกัด
งานนี้ได้รับการตอบรับจากผู้แสดงสินค้ามากถึง 500 กว่าราย เต็มพื้นที่ของ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ โดยมีหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่หลากหลาย เริ่มต้นที่
– SCG Pavilion การกลับมาครั้งยิ่งใหญ่ของ SCG บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ภายใต้แนวคิด “SCG for Smart Living, Smart City”
– ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ: Serge Ferrari, CASALI, WILO และ JXK เป็นต้น
– ผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวครั้งแรก: Solar D, SCG, COWAY, Mitsubishi และ IQAir เป็นต้น
– นวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์: Solartron, technology Store, HaCO และ Uni Green เป็นต้น
– นวัตกรรมไฟส่องสว่าง: Unilamp, Quill Lighting, Lamptitude และ IGuzzini เป็นต้น
– ดีไซน์กระเบื้องแปลกใหม่: Duragres, VECERA, KENZAI, COTTO, BEZEN และ WDC เป็นต้น
– กองทัพไม้แท้และไม้เทียม: Conwood, Wooden, TS-Teak, Lvsenwood, และ CHAMPACA เป็นต้น
– พื้นที่ศิลปะ: Muangmol, Surak, PON De Art และ The Artist House เป็นต้น
– ผลิตภัณฑ์ครัวคุณภาพชั้นนำ: Rinnai และ Hooth เป็นต้น
– นวัตกรรมสีสุดล้ำจากเหล่าแบรนด์ดัง: Beger, TOA และ Jorkay เป็นต้น
– เทคโนโลยีเอาใจสถาปนิกและวิศวกร: HP, CANON, EPSON, FASTINSPECT และ zwcad เป็นต้น
– สุขภัณฑ์หรูคู่บ้าน : Cristina, Coway และ COTTO เป็นต้น
– เทคโนโลยีสมาร์ตโฮม: Maxwell, SCG และ Solar D เป็นต้น
– เครื่องใช้ไฟฟ้า: MAKOTO, Shimono, All ABout BOT, และ beko
– เอาใจคนรักสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์ Ergonomic และเครื่องนวด: AMAXS, RESTER, R-Cool, Workscape และ Ergotrend เป็นต้น
– อุปกรณ์ก่อสร้างเอาใจเหล่าช่างฝีมือดี: MAKITA, Black&Decker และ Milwaukee เป็นต้น
– วัสดุปิดผิวจากแบรนด์ชั้นนำ: Greenlam, Formica, LSX, Wilsonart, EDL, TAK, BRT, Footstep, มินิมะ เฮ้าส์, Inalco, BFM Laminates และ Total Elements เป็นต้น
– ผนังและหลังคา: VIVA Board, Trippo, Hybrid Board, PASAYA, RICA, VG และ Far East เป็นต้น
– นวัตกรรมน้ำและสระว่ายน้ำ: J.D. Pools, COWAY, Mazuma, และ Water Pure เป็นต้น
– เคมีภัณฑ์ปกป้องบ้าน: CASALI ABM, MaxFloor เป็นต้น
– ประตูและหน้าต่างดีไซน์ทันสมัยไม่ตกเทรนด์: TOSTEM, Glasten, AB&W, Modern Galss, Aluzat และ ORM Aluminuim เป็นต้น
– บริการรับออกแบบและก่อสร้างบ้าน: Master Plan 101, The Emperor House, Landy Home, Royal House, Wide House, Built to Build, SEACON และ AWII House เป็นต้น
– แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านที่เข้าได้กับทุกสไตล์ที่พักอาศัย: About Home, YOTHAKA, Korakot BaanChaan, Perfect Furniture, Into the woods และ Pioneer เป็นต้น
– ไอเดียออกแบบพื้นที่ Landscape : IS delight, Madam Khajee, AtSiam และ Olive De Casa เป็นต้น
– ลิฟต์บ้านเพื่อผู้สูงวัยและคนในครอบครัว: TKE, AMATA Lift, Cibes, Dtruss และ ARITCO เป็นต้น
– ปกป้องบ้านให้ปลอดภัยด้วยนวัตกรรมเกราะป้องกันอันดับหนึ่ง: VECO, IsOn, IDENMATIC, KRIX, และ Great Lock เป็นต้น
– DesignerHub Pavilion: พื้นที่จัดแสดงผลงานออกแบบทุกสาขาและบริการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญให้สาขาวิชาชีพต่าง ๆ กับผู้ที่สนใจใช้บริการออกแบบ โดยมีทั้งออกแบบบ้าน ออกแบบภายใน ออกแบบ Landscape ออกแบบร้านกาแฟ ออกแบบโรงแรม ออกแบบโลโก้ และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นพื้นที่รวบรวมนักออกแบบมากที่สุดของงานปีนี้
– กิจกรรม pre-register ลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมงานก็มีสิทธิ์ลุ้นของรางวัลเพียบ!
นอกจากนี้ยังมีเสียงจากผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ตรงกลุ่มเป้าหมายและเกินคาดสุด ๆ
อ่านเพิ่มเติม CLICK
สำหรับใครที่พลาดโอกาสในปีนี้ เรายังมีการแสดงผลิตภัณฑ์ออนไลน์อย่าง Digital Showroom เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจ รวมถึงบูธต่าง ๆ ในรูปแบบ Virtual ลอง CLICK เพื่อเข้าไปชมได้เลย
ส่วนงานปีหน้าจะมีไฮไลต์พิเศษ หรือคอนเซปต์งานจะเป็นอะไร ก็ต้องรอติดตามกันต่อไป! พบกันปีหน้า “สถาปนิก’66” 25 – 30 เมษายน 2566
สามารถติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ https://architectexpo.com/ และทาง FACEBOOK งานสถาปนิก : ASA EXPO