ดีไซน์ความเป็นไทย ในสถาปัตยกรรมยุคปัจจุบัน

“ณ ลานนา”

สถาปัตยกรรมไทยคืออะไร? คำถามสั้น ๆ ที่พาไปสู่คำตอบยาว ๆ และข้อถกเถียงไม่รู้จบ ในยุคที่เทคโนโลยีนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์สำหรับงานออกแบบก่อสร้างผ่านการพัฒนามายาวนาน สถาปนิกนักออกแบบก็มีทางเลือกในการสร้างสรรค์เพื่อสื่อ (และสร้าง) ความเป็นไทยที่แปลกใหม่ทะลุขีดจำกัดเดิม ๆ เหมือนในตัวอย่างเหล่านี้

รูปทรงสื่อไทยกับวัสดุไม่ดั้งเดิม

Thematic Pavilion – VGxPHTAA

วัสดุอุตสาหกรรมกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น? พาวิลเลียน (ที่เป็น “ศาลา” จริงๆ) นี้คือการ “พลิกด้าน” จากรากฐานเดิมของฟอร์มสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบเรือนยกพื้นในเขตร้อนชื้นกับหลังคาทรงจั่ว ที่คนไทยน่าจะเคยเห็นเคยใช้กันมาบ้าง แต่แทนที่จะสร้างด้วยไม้ ศาลานี้สร้างด้วยรางน้ำ (ที่ไม่ได้เป็นรางน้ำ) และหลังคาไวนิล (ที่ไม่ได้เป็นหลังคา)

สถาปนิก PHTAA Living design ร่วมกับ VG ผู้ผลิตรางน้ำไวนิลและหลังคาไวนิลคุณภาพสูง สร้างกระบวนการ “Reappropriation” ใน Thematic Pavilion ของทั้งสองเมื่องานสถาปนิก’65 เป็นบ้านทรงไทยที่สร้างด้วยวัสดุอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของวัสดุไวนิลในการ “เป็น” สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาจากรางน้ำไวนิล ผนังอาคารที่กลับสร้างจากหลังคาไวนิล หรือหอคอยลมที่สร้างจากระแนงไวนิลและรางน้ำไวนิล นอกจากจะเป็นการพลิกแนวคิดการใช้งานวัสดุอุตสาหกรรมแล้ว พาวิลเลียนนี้จึงเป็นการพลิกมุมมองเกี่ยวกับสัญญะสื่อความเป็นไทย ที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการออกแบบมาเจอกับยุคสมัยแห่งการผลิตแบบอุตสาหกรรม

อีกผลงานที่น่าสนใจคือ “เกล็ดพญานาคโลหะ” บนโครงสร้างกล้ามเนื้อแน่น เคลื่อนไหวผ่านผิวน้ำ ใน ‘The Glimpses of Mahanakha’ ออกแบบโดย Context Studio

The Glimpses of Mahanakha

จากเทพเจ้าแห่งผืนน้ำของชาวพุทธและฮินดูที่มักพบตามศาสนสถานต่าง ๆ ประติมากรรมนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสร้างรูปทรงของลำตัว กล้ามเนื้อ และการเคลื่อนไหว ผสานเข้ากับฝีมือการทุบขึ้นรูปโลหะด้วยมือโดยช่างผู้ชำนาญการแบบชิ้นต่อชิ้น ก่อนอบแต่ละเกล็ดเป็นสีโลหะดำด้านที่ภายนอกและทองคำเปลวภายใน จากวัสดุที่ดูแข็ง ดิบ ดุดัน อย่างเหล็ก จึงได้กลายมาเป็นเกล็ดพญานาคบนลำตัวที่ดูเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ

อาจกล่าวได้ว่า เมื่อทะลุขีดจำกัดด้านวัสดุกันแล้ว สิ่งที่ชวนให้นึกถึงความเป็นไทยจึงอยู่เช่นที่รูปแบบ (form) หรือรูปทรง (shape) ตามแต่การเลือกใช้ ว่าจะหยิบเอาองค์ประกอบจากดีไซน์ที่คุ้นเคยใดมา ไม่ว่าจะเป็นศาลาที่คนผ่านไปผ่านมาใช้พักผ่อนหรือสัตว์ในตำนานความเชื่อของคนไทย

Thematic Pavilion ที่จับวัสดุมาใช้งานอย่างแปลกใหม่กำลังจะมาให้ชมอีกครั้งในงานสถาปนิก’66 โดย Context Studio จะแสดงฝีมือการใช้เหล็กให้สุดคุณสมบัติอีกครั้ง ในพาวิลเลียนที่เขาออกแบบร่วมกับ Thaikoon Steel และ Thai Premium Pipe และยังมีการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างสถาปนิกและซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้างอีกมากใน Thematic Pavilion อื่น ๆ ในงานสถาปนิก’66

สัมผัสวัสดุ สัมผัสความเป็นไทย

นอกจากรูปแบบและรูปทรงแล้ว วัสดุก่อสร้างยังเป็นอีกอย่างที่พาเราไปสัมผัสความเป็นไทยได้ วัสดุคือ “ผิวนอกสุด” ของสถาปัตยกรรมที่เป็นสื่อกลางให้คนรับรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมนั้น ๆ รวมทั้งความหมาย ความทรงจำ หรือเป็นประสบการณ์ของเราที่เกิดจากประสาทสัมผัสทางกายภาพ

วัดพระแก้ว – ภาพจาก กระเบื้องมุงหลังคาสโตนมาร์ค
กระเบื้องมุงหลังคาสโตนมาร์ค

วัสดุก่อสร้างอะไรทำให้คนนึกถึงความเป็นไทยบ้าง? คำตอบยอดฮิตคงไม่พ้นไม้หรืออิฐที่มักพบในสถาปัตยกรรมประเพณี แต่นอกจากนั้นยังมีวัสดุอะไรอีกไหมที่สื่อถึงความเป็นไทย?

กระเบื้องเป็นอีกวัสดุที่พบได้บ่อยในสถาปัตยกรรมไทยประเพณี เช่นในหลังคาวัดอย่างวัดพระแก้วหรือวัดบวรนิเวศวิหารที่ใช้กระเบื้องมุงหลังคาสโตนมาร์ค แต่ไม่ใช่แค่ในวัด ยังมีการใช้งานกระเบื้องแบบอื่น ๆ อีกเช่น ในที่พักอาศัย และไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น กระเบื้องเป็นวัสดุก่อสร้างที่สอดแทรกอยู่ในสถาปัตยกรรมเพื่อเล่าเรื่องราวของท้องถิ่นอื่น ๆ อีกด้วย เช่นใน ‘ณ ลานนา’ กับดีไซน์บ้านสไตล์ลานนาประยุกต์ ผสมผสานสถาปัตยกรรมลานนากับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน กับกระเบื้องไม้งาม หรือ ‘ณ นิรันดร์’ ที่พักสไตล์ลานนาโคโลเนียล ที่พาย้อนไปหายุคอาณานิคมในสมัยรัชกาลที่ 5 กับกระเบื้องไม้งามเช่นเดียวกัน

Na Nirand Romantic Boutique Resort ภาพจาก กระเบื้องไม้งาม

สีเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สามารถสื่อถึงความเป็นไทยได้เช่นกัน ลองดูบรรยากาศภายในร้าน The Iconic Store ใน the Jim Thompson Heritage Quarter ที่ทาทับไปด้วยสีแดงโทนไทยอยู่ทุกมุมมอง ชวนให้นึกถึงเรือนไทยของ Jim Thompson โดยส่วนท็อปเคาน์เตอร์และบันไดวนเป็นสีแดงจากหินสังเคราะห์ Ecological stone จาก Prodigy Design ดูเข้ากับสิ่งทอลายไทยของ Jim Thompson เป็นอย่างดี

แน่นอนว่าสิ่งทออย่างผ้าไหมเองก็เป็นหนึ่งในวัสดุที่เพิ่มกลิ่นอายความเป็นไทยเข้าไปในดีไซน์ต่าง ๆ ด้วย แบรนด์อย่าง The Carpet Maker เองก็มีการพัฒนาวัสดุอย่าง MONSILK™ ขึ้นมา เป็นนวัตกรรมเส้นใยจากกระบวนการ Upcycling ขยะพลาสติกที่ให้สัมผัสนุ่มลื่นเหมือนไหมแท้ ๆ

ชมกองทัพนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับงานออกแบบก่อสร้างและพาวิลเลียนดีไซน์พิเศษที่งานสถาปนิก’66

ผลิตภัณฑ์จาก The Carpet Maker

ยังมีนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์สำหรับงานออกแบบก่อสร้างอีกมากมารวมตัวกันจัดแสดง รวมทั้ง Thematic Pavilion ที่สถาปนิก-นักออกแบบไม่ควรพลาด ในงานสถาปนิก’ 66 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

สำหรับผู้สนใจจองพื้นที่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://architectexpo.com/2023/en/about-the-expo/#space-reservation หรือ โทร. 02-717-2477 อีเมล [email protected]

Similar Posts