ก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 ไปกับ UMI GROUP กระเบื้องที่ท้าทายทุกฟังก์ชันและการออกแบบวัสดุ ในงานสถาปนิก’66
เมื่อพูดถึงวัสดุตกแต่งบ้าน ผู้อ่านหลายคนคงจะนึกถึงวัสดุหลากหลายประเภทแตกต่างกันไป บ้างก็เฟอร์นิเจอร์ บ้างก็โคมไฟ หรือถ้าสเกลเล็กลงไปก็คงเป็นผ้าม่าน ทว่าในบทความนี้เราอยากจะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับวัสดุตกแต่งพื้น-ผนังอย่างเช่น “กระเบื้อง” ในมุมมองที่คาดไม่ถึง เพราะนอกจากผู้อ่านจะมองเห็นกระเบื้องในแง่ของวัสดุที่สร้างสีสันและลวดลายให้กับพื้นและผนังของบ้านแล้ว ภายใต้สีสันและฟังก์ชันที่ถูกส่งมอบออกมากลับมีกระบวนการที่ประณีตและละเอียดยิ่งกว่านั้น ฉะนั้นลองมาเจาะลึกเบื้องหลังของการละเลงสีสัน สร้างลวดลาย และพัฒนาฟังก์ชันบนผืนกระเบื้องจากบทสนทนาที่ผู้เขียนได้ร่วมพูดคุย กับ คุณปิยะภัทร มณีเสถียร ผู้จัดการฝ่ายออกแบบ ของ บริษัท สหโมเสค
อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ UMI GROUP
ก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 ในฐานะผู้นำ
ด้านการรังสรรค์นวัตกรรมกระเบื้อง
ครบรอบ 50 ปีของการรังสรรค์นวัตกรรมกระเบื้องสำหรับ บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรือ UMI GROUP กับการพัฒนานวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้งมาตั้งแต่ปี 2516 ภายใต้แบรนด์ดูราเกรส เป็นที่มาของการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตกระเบื้อง จนสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างหลากหลายและสอดคล้องไปกับกระแส Mega Trend
“ต้องยอมรับว่าเราเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในการผลิตกระเบื้อง อาทิ การนำเครื่อง Digital Printing มาใช้ในการผลิตกระเบื้องเซรามิกเจ้าแรกในประเทศไทย ไปจนถึงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกหรือสิ่งที่โลกเผชิญอยู่ จนได้มาซึ่งกระเบื้องฟอกอากาศ กระเบื้องที่ยับยั้งการเจริญเติบโตแบคทีเรียได้เป็นเจ้าแรก” คุณปิยะภัทร กล่าว
เทรนด์กับงานดีไซน์วัสดุตกแต่งบ้าน
เทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ปีหรือปัจจุบันนี้จะเรียกได้ว่าเปลี่ยนไปทุกห้วงเวลา ทำให้ผู้เขียนนึกย้อนไปว่า แล้วงานดีไซน์ผลิตภัณฑ์ที่โชว์สีสันลวดลายบนพื้นผิวอย่างกระเบื้องนั้นได้รับผลกระทบที่เกิดจากประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
“อย่างที่เราทราบกันคือเทรนด์จะเปลี่ยนไปทุกปี แต่ UMI GROUP เรามีวิธีการรับมือกับกระแสเหล่านี้โดยการอ้างอิงความสนใจของลูกค้าเป็นหลัก แล้วมาต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีเอกลักษณ์โดยการหยิบจับเอาเทรนด์โลกหรือดีไซน์ต่าง ๆ มาใช้ เพราะว่าสุดท้ายแล้วเราจะเห็นว่าดีไซน์จะสัมพันธ์กับเรื่องเสื้อผ้า เรื่องแฟชั่น”
นอกจากนั้น คุณปิยะภัทร ยังพูดถึงเทรนด์งานดีไซน์ของวัสดุกระเบื้องในช่วงปี 2023 นี้
“ด้วยความที่เราเพิ่งเผชิญโควิด-19 มา ฉะนั้นเรื่องของเทรนด์คงไม่ได้หวือหวาอะไร แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือคนอยู่บ้านเยอะขึ้น เทรนด์การออกแบบก็จะเป็นในแง่ของการใช้สีที่เรียบง่าย ไม่ฉูดฉาดมากนัก อยู่ในโทนอบอุ่น”
รีเฟรชวงการกระเบื้องด้วยนวัตกรรมสำหรับปี 2023
อย่างที่ผู้เขียนได้เกริ่นถึงการก้าวเข้าสู่ที่ปีที่ 50 ของ UMI GROUP จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ล้วงลึกถึงโปรเจกต์สำคัญของทางแบรนด์ที่พาให้เราก้าวเดินไปพร้อม ๆ กันกับการสร้างสีสันและก้าวข้ามกฎเกณฑ์งานดีไซน์ของวงการกระเบื้อง ซึ่งทางแบรนด์ก็ได้เผยถึงนวัตกรรมที่น่าจับตามองในปี 2023 นี้กับเราไว้ว่า
“เราอยากจะสร้างความแปลกใหม่ใหักับผลิตภัณฑ์ผ่านซีรี่ส์เมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นซีรี่ส์ที่มีความเรียบง่ายแต่แฝงไปด้วยเสน่ห์แบบเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากเรายังจะเพิ่มความสนุกไปกับกระเบื้องแนวตกแต่ง 3 ซีรี่ส์ ได้แก่ Botanical แนวใบไม้และธรรมชาติ Majorica ลวดลายจากเทคนิคการเพ้นท์สีกระเบื้องเซรามิคของอิตาลี Lolipop งานเรขาคณิตที่ให้ผู้ใช้งานได้สนุกกับการจัดวางกระเบื้องให้เกิดเป็นลวดลาย โดยทั้งหมดเป็นนวัตกรรมที่เราอยากจะนำเสนอในปีนี้”
นวัตกรรมไฮไลท์ที่ผลักดันให้ก้าวไปสู่อนาคต
หลังจากที่สังคมเผชิญหน้ากับภัยโรคระบาดทำให้การพัฒนานวัตกรรมจนถึงงานดีไซน์ชะลอตัว กระทั่งมาในปี 2023 ที่ผู้คนเริ่มตื่นตัวและเติมแรงบันดาลให้กลับมาใช้ชีวิตดังเดิมอีกครั้ง ทางแบรนด์ก็พร้อมที่จะโชว์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบรับกับการฟื้นตัวของสังคมและผู้คน โดยในงานสถาปนิก’66 นี้ UMI GROUP จะเน้นไปที่งานดีไซน์ มีการ Mix & Match ของกระเบื้องชุดต่าง ๆ ในขณะเดียวกันความตระหนักในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นทำให้ทางแบรนด์ได้ตัดสินใจเปิดตัว Eco Tiles Series ซึ่งเป็นการนำวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อโลกที่ยั่งยืน โดยคุณภาพของกระเบื้องยังคงเป็นไปตามมาตรฐานสากล
เท่านั้นยังไม่พอ ทางแบรนด์ยังอยากให้เราได้สัมผัสกระเบื้องในมุมมองที่แตกต่าง ในมุมที่เห็นกระเบื้องนั้นเป็นได้มากกว่าวัสดุปูผนังและปูพื้น มุมมองแปลกใหม่เหล่านี้กำลังจะถูกนำเสนอผ่านผลิตภัณฑ์ประเภท Non Tiles อาทิ Décor Panels หรือ แผ่นตกแต่งฝ้าและผนังพีวีซี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จาก DURAGRES ที่มาพร้อมคุณสมบัติทนน้ำ ทนชื้น ไม่ลามไฟ สามารถใช้ปิดผิวได้ทุกบริเวณภายในอาคาร
“เรามีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในหลาย ๆ กลุ่ม และที่สำคัญคืออยากให้ลองมองกระเบื้องในแง่ของฟังก์ชันที่ทำได้มากกว่าการปูผนังและปูพื้น”
แล้วหากถามว่าทางแบรนด์มองเรื่องการทำงานในอนาคตอย่างไร คุณปิยะภัทร ก็กล่าวกับเราแบบสั้น ๆ ว่า “ปีที่ผ่านมา เรามีการออกแบบกระเบื้องที่ Collab กับวงการแฟชั่นอย่างแบรนด์ KLOSET ในการผลิตกระเบื้องสำหรับจำหน่ายแล้วนำรายได้ไปบริจาคเนื่องในโอกาสเข้าสู่ปีที่ 50 และในอนาคตเราก็ยังคงวางแผนที่จะร่วม Collab กับวงการอื่น ๆ เพื่อแสดงศักยภาพด้านใหม่ ๆ ให้กับวงการออกแบบ-ก่อสร้าง”
การท้าทายขีดจำกัดของวัสดุตกแต่งพื้นและผนังอย่างกระเบื้อง โดยการระดมไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับวงการอื่น ๆ เพื่อส่งมอบงานดีไซน์ที่แปลกใหม่และฟังก์ชันที่รองรับทุกไลฟ์สไตล์ คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงตัวตนของ UMI GROUP ฉะนั้นในงานสถาปนิก’66 นี้ ทางแบรนด์จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ที่หลงใหลในลวดลายบนผืนกระเบื้องมาร่วมเดินหน้าเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี อีกทั้งยังมาสัมผัสนวัตกรรมที่พัฒนามาเพื่อตอบสนองทุกความต้องการไปด้วยกัน
มาสัมผัสนวัตกรรมที่ก้าวเข้าสู่ปีที่ 50
ไปพร้อมกันที่สถาปนิก’66
หากอยากรู้ว่า ดูราเกรส (DURAGRES) และ เซอเกรส (CERGRES) แบรนด์กระเบื้องชั้นนำที่พัฒนานวัตกรรมมาจนครบรอบ 50 ปี จะรวมเอาเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการมาในแง่ไหน งานดีไซน์ที่ปรุงแต่งจากความคิดสร้างสรรค์มาในรูปแบบใด เชิญร่วมพิสูจน์ไปพร้อม ๆ กันที่บูธหมายเลข F311 ในงานสถาปนิก’66 งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 25 – 30 เมษายน 2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี