ศิลปินหลุดโลก? อาชีพสุดเครียด? มองภาพลักษณ์ที่เพิ่งสร้างของสถาปนิกผ่านสองซิตคอมตลกชื่อดัง

ตอนเรียนก็เหนื่อย ตอนทำงานก็หนัก ภาพลักษณ์ของสถาปนิกและนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์เหล่านี้วนเวียนอยู่ในความรับรู้ของผู้คนมากมายทั้งจากประสบการณ์ตรงของตนเอง จากคำบอกเล่าของคนใกล้ตัว หรือที่ส่งอิทธิพลต่อคนจำนวนมากอย่างสื่อบันเทิง ทั้งภาพยนตร์ การ์ตูน หรือซิตคอม

ไม่ว่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ สื่อเหล่านี้ก็มีส่วนสร้างภาพจำเกี่ยวกับสถาปนิกในความรับรู้ของผู้คนอย่างปฏิเสธไม่ได้

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นสื่อที่มีลักษณะเดียวกันอย่างเช่นซิตคอมที่เน้นความตลก ก็อาจให้ภาพของสถาปนิกที่แตกต่างกันมากก็ได้ ดังสองตัวอย่างนี้

“ถูกหลอกหลอนด้วยเรื่องตลก”
Frank Gehry ใน The Simpsons

เมื่อกล่าวถึงแนวคิดแบบ deconstructivism ในสถาปัตยกรรม แฟรงก์ เกห์รี (Frank Gehry) เป็นหนึ่งในชื่อที่ได้รับการพูดถึงอยู่เสมอ

ผลงานการออกแบบของเขาไม่ว่าจะเป็น Guggenheim Museum Bilbao, The Museum of Pop Culture (MoPOP) หรือ Biomuseo ได้รับการพัฒนาขึ้นจากภาพร่างที่ “ยึกยือ หงิก ๆ งอ ๆ” จนอาจสร้างความสงสัยให้หลายคนว่าเขาคิดได้อย่างไร?

ภาพร่างของ Disney Concert Hall จาก Architizer

แล้วเราก็ได้คำตอบจากการ์ตูน The Simpsons ที่เขาเป็นผู้แสดง (เสียง) เอง ว่า Disney Hall สถานที่แสดงดนตรีรูปร่างแปลกตา เกิดขึ้นจากรูปทรงของกระดาษที่เขาหยิบขึ้นมาขยำ

ภาพจากการ์ตูน The Simpsons

แต่นั่นไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง!

ไม่ว่าเนื้อเรื่องของตัวเขาเองใน The Simpsons จะเป็นมุกตลกขำ ๆ ตามสไตล์การเล่าของการ์ตูน หรือเป็นการเสียดสีล้อเลียนกระบวนการสร้างสรรค์ของงานรูปแบบนี้ แต่เรื่องนี้ก็กลายเป็นตำนานที่เป็นที่รู้จักของเขา

และจากปากคำของเขาเอง เขารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องตลก แต่มันหลอกหลอนเขา เพราะผู้คนที่ดู The Simpsons ต่างก็เชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริง

“เสียดสี แต่สมจริง”
Ted Mosby จาก How I Met Your Mother

ตัวละครTed Mosby ภาพจาก Wikipedia

ในอีกแง่หนึ่ง ซิตคอมตลกยอดนิยมอย่าง How I Met Your Mother ที่มีตัวละครหลักอย่าง Ted Mosby ประกอบอาชีพสถาปนิก กลับ “เป็นภาพเสียดสีที่สมจริง” ตามความเห็นของสถาปนิกท่านหนึ่ง

ตั้งแต่เรื่องชีวิตในฐานะนักศึกษาสถาปัตยกรรมที่ไม่ดีนัก ลำดับชั้นสูงต่ำในที่ทำงาน การทำงานที่เครียดและยาวนาน ไปจนถึงการรับมือกับผู้ว่าจ้าง

ตัวละครของเขาถ่ายทอดสภาพความเป็นอยู่จริง ๆ ในแวดวงสถาปนิกออกมา โดยแฝงไว้ด้วยลีลาเสียดสีกวนใจตามลักษณะแบบซิตคอม

เล่าการทำงานของสถาปนิกอย่างไรได้บ้าง?

หากแนวทางการสร้างสื่อหรือคอนเทนต์ที่แตกต่างกันนำมาสู่ภาพลักษณ์ของสถาปนิกที่แตกต่างกัน

การทำงานของสถาปนิกในมิติแห่งการทำงานร่วมกันควรจะถูกเล่าเรื่องมาอย่างไรในสายตาคุณ?

งานสถาปนิก’65 ชวนนักสร้างสรรค์ทุกท่านร่วมตอบคำถามว่า “สถาปนิกทำงานร่วมกับสาขาอาชีพอะไรได้บ้าง” ในการประกวดวิดีโอเพื่อชิงรางวัลมูลค่ากว่า 100,000 บาท ในกิจกรรม “65 Seconds ArchFilm Challenge 2022” ซึ่งจัดขึ้นตามแนวคิดหลักของงานสถาปนิก’65 “พึ่งพา – อาศัย” หรือ “CO – WITH CREATORS

ภายในงานยังมีกิจกรรมเพื่อแสดงการพึ่งพาอาศัยอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการ PROFESSIONAL COLLABORATION ซึ่งเป็นการจับคู่ทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกและนักสร้างสรรค์จากหลากภูมิภาค เช่นช่างภาพไอโฟนกับสถาปนิก หรือศิลปินกับสถาปนิก เป็นต้น หรือ THEMATIC PAVILION ซึ่งเป็นการร่วมสร้างสรรค์ระหว่างสถาปนิกและซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้าง

แล้วพบกับงานสถาปนิก’65 “CO WITH CREATORS พึ่งพา – อาศัย” ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2565 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

Similar Posts